ประมวลกฎหมายอาญาที่สำคัญๆ ของประเทศเนเธอร์แลนด์

  • 0

ประมวลกฎหมายอาญาที่สำคัญๆ ของประเทศเนเธอร์แลนด์

แปลและเรียบเรียงโดย ปูชิตา รักวิทย์

มาตรา 36e ประมวลกฎหมายอาญา

  1. การขอตรวจ สำนักงานอัยการสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาล การตัดสินใจว่าผู้ที่ถูกตัดสินเนื่องจากความผิดทางอาญา มีการบังคับให้วางหลักทรัพย์จนกระทั่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่รัฐ ทำการยึดทรัพย์จากสิ่งที่ได้มาจากการกระทำผิดกฎหมาย
  2. การบังคับสามารถกระทำได้ตามวรรคแรก บุคคลใดได้ทรัพย์มาโดยกระทำความผิดมีโทษทางอาญา ถ้ามีหลักฐานพอว่าบุคคลนั้นทำความผิดจริง สามารถปรับเงินได้ซึ่งจัดอยู่ในประเภทที่ 5
  3. การขอตรวจ สำนักงานอัยการสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาล การตัดสินใจว่าผู้ที่ถูกตัดสินเนื่องจากการกระทำความผิด ซึ่งสามารถปรับเงินจัดอยู่ในประเภทที่ 5 และต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิด ที่ถูกตรวจสอบทางการเงิน การบังคับให้วางหลักทรพย์จนกระทั่งการปรับเป็นเงินให้แก่รัฐ การยึดทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด ทำได้ในกรณีที่การตรวจสอบพบว่าได้ทรัพย์นั้นมาโดยการประกอบกิจทุจริต ซึ่งผู้นั้นถูกตัดสินในข้อหานี้
  4. ผู้พิพากษาจะทำการประมาณจำนวนเงินที่ได้มาจากการประกอบทุจริต มูลค่าของสิ่งของที่ได้มาจากการประกอบทุจริตจะถูกคำนวน สามารถประมาณค่าตามมูลค่าในท้องตลาด ใช้เวลาในการตัดสินใจการขายทอดตลาดเพื่อจะได้เงินมา ผู้พิพากษาสามารถให้ผู้กระทำผิดจ่ายต่ำกว่ามูลค่าที่ได้ประมาณไว้
  5. ภายใต้สิ่งของ(voorwerpen )เป็นที่เข้าใจว่า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรือทรัพย์สินต่างๆ
  6. ในการกำหนดจำนวนเงินที่ถูกกะประมาณในทรัพย์สินที่ได้มาจากการประกอบการทุจริตนั้น ถ้ายอมรับสารภาพ จำนวนเงินก็จะลดน้อยลง
  7. จะใช้มาตรการใดต้องคำนึงถึงการตัดสินหลักก่อนนี้ การบังคับให้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง การยึดจากทรัพย์สินที่ได้มาจากการประกอบการทุจริต
  8. การบีบบังคับสามารถกระทำได้ตามมาตรา 577c ตามประมวลกฎหมายลักษณะการลงโทษทางอาญา โดยผู้พิพากษาเป็นผู้ออกคำสั่งสูงสุดเป็นระยะเวลา 3 ปี และบังคับใช้เป็นกฎที่ต้องปฏิบัติ

 

มาตรา 197 a ประมวลกฎหมายอาญา

  1. บุคคลใดที่ช่วยผู้อื่น ทำให้เข้ามา จนกระทั่งเดินทางเข้าในประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศอื่นๆที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปไอแลนด์ นอร์เวย์ หรือ รัฐที่เข้าร่วมในสนธิสัญญา  ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2543 (ค.ศ.2000) แห่งมหานครนิวยอร์ค สนธิสัญญาต่อต้านการลักลอบอพยพเข้าประเทศทางบก ทางทะเล และทางอากาศ   มีการเพิ่มเติมในวันที่ 15 พฤศจิกายนพ.ศ.2543 (ค.ศ.2005) แห่งมหานครนิวยอร์ค สนธิสัญญาต่อต้านการกระทำผิดลักลอบเข้าประเทศ ให้โอกาส เป็นคนกลาง หรือให้ข้อมูล ในขณะที่ผู้นั้นทราบดีว่าการเข้ามา หรือเดินทางเข้ามานั้นผิดกฎหมาย มีความผิดฐานลักลอบคนนำเข้าประเทศโดยผิดกฎหมาย มีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือปรับเงินในประเภทที่ 5
  2. บุคคลใดที่ได้เงินจากการช่วยผู้อื่นให้พักอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศอื่นๆที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ไอแลนด์ นอร์เวย์ หรือ รัฐที่กล่าวถึงในทางการฑูต หรือ บุคคลนั้นให้โอกาส เป็นคนกลาง หรือให้ข้อมูลในขณะที่ผู้นั้นทราบดีว่าการเข้ามา หรือเดินทางเข้ามานั้นผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือปรับเงินในประเภทที่ 5
  3. ในกรณีที่ข้าราชการเป็นผู้กระทำวางโทษจำคุกสูงสุด 6 ปี หรือปรับเงินในประเภทที่ 5 และปลดจากหน้าที่
  4. ในกรณีที่บุคคลที่มีอาชีพหรือคนทั่วไปกระทำหรือร่วมมือกับบุคคลอื่นหลายๆคน วางโทษจำคุกสูงสุด 8 ปี หรือปรับเงินในประเภทที่ 5
  5. ในกรณีที่ทำให้ผู้อื่นหวาดกลัว ทำให้ส่วนของร่างกายได้รับบาดเจ็บสาหัสอันตรายต่อชีวิต วางโทษจำคุกสูงสุด 12 ปี
  6. ในกรณีทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต วางโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี หรือปรับเงินในประเภทที่ 5

 

มาตรา 140 ประมวลกฎหมายอาญา

  1. ผู้ที่เข้าร่วมกับองค์กรที่มีเป้าหมายในการกระทำความผิด มีโทษจำคุกสูงสุด 6 ปี หรือปรับเงินในประเภทที่ 5
  2. ผู้ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของนิติบุคคล ซึ่ง ศาลตัดสินห้าม ไม่มี(บริษัทนี้)อยู่ แต่ยังคงทำกิจกรรมนั้นอยู่ มีโทษจำคุกสูงสุด 1 ปี หรือปรับประเภท 3
  3. เนื่องจากเป็นผู้ก่อตั้ง ผู้นำ คณะกรรมการ ทำให้ได้รับโทษสูงขึ้น1ใน3
  4. การมีส่วนในองค์กร การให้ยืมเงิน- หรือ การให้ยืมสิ่งของอื่นๆ การหาหรือรวบรวมงิน หรือ บุคคลเพื่อองค์กร

 

มาตรา 287 ประมวลกฎหมายอาญา

  • บุคคลใดตั้งใจทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ความผิดฐานฆ่าโดยบันดาลโทสะ มีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี หรือปรับประเภทที่ 5

 

มาตรา 289 ประมวลกฎหมายอาญา

  • บุคคลใดตั้งใจและวางแผนทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ทีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น โทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกสูงสุด 30 ปี หรือปรับประเภทที่ 5

 

มาตรา 317 ประมวลกฎหมายอาญา

  1. บุคคลใดกระทำผิดเพื่อให้ได้บางสิ่งมา โดยใช้ความรุนเรง หรือข่มขู่โดยใช้ความรุนแรงบังคับ เช่น ความผิดจากการรีดไถ โทษจำคุกสูงสุด 9 ปี หรือปรับประเภทที่ 5
  2. บุคคลใดที่บีบบังคับผู้อื่น จะได้รับโทษเช่นเดียวกันนี้ ดังในวรรคแรก ทำการข่มขู่บีบบังคับ
  3. ดังที่กำหนดไว้ในวรรคที่ 2 ที่ 3 ในมาตรา 312 การกระทำความผิด

 

กฎหมายการลงโทษทางอาญา

มาตรา 126 ประมวลกฎหมายอาญา

  1. ในกรณีสงสัยว่ามีการกระทำความผิด ซึ่งสามารถปรับเงินประเภทที่ 5 การกระทำทุจริตซึ่งทำให้ได้มาแห่งทรัพย์สิน และสามารถยื่นทำการตรวจสอบทางการเงินได้
  2. การตรวจสอบทางการเงินโทษทางอาญาพุ่งเป้าไปที่ผู้ต้องสงสัยที่กระทำทุจริตแล้วได้มาซึ่งทรัพย์สิน เป้าหมายคือทำการยึดทรัพย์ ตามมาตรา 36e ตามประมวลกฎหมายอาญา

 

มาตรา 126a ประมวลกฎหมายอาญา

  1. มาตรานี้เพิ่มจากมาตรา 126 การมอบฉันทะให้ทำการตรวจสอบทางการเงินโดยพนักงานสอบสวนจะแสดงหนังสือมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อจะได้ทราบถึงทรัพย์สินของบุคคลที่ทำการตรวจสอบ บุคคลที่ขัดขวางการตรวจสอบนี้ สามารถสั่งให้
    • ก. บอกให้ข้อมูลหรือให้รายละเอียดของทรัพย์สิน ไม่ใช่รายละเอียดดังในมาตรา126nd วรรคที่2 ประโยคที่3 ทั้งประโยค
    • ข. แจ้งทรัพย์สินหรือ และ ว่า ส่วนของทรัพย์ที่เขามีหรือเคยมี เคยครอบครองแก่บุคคลที่ทำการตรวจสอบทางการเงิน และแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรในทรัพย์สินที่ทำการยึด

 

มาตรา 126b ประมวลกฎหมายอาญา

  1. ช่วงเวลาที่มีการตรวจสอบทางการเงิน อัยการมีอำนาจ    ตามมาตรา 94 โดยไม่ต้องมีการมอบฉันทะอื่นจากศาล ให้ทำการยึดทรัพย์สินตามมาตรา 94a
  2. ในกรณีที่อัยการปฏิบัติการตรวจสอบทางการเงิน ในกรณีจำเป็น อัยการสามารถร้องขอให้ผู้พิพากษาสอบสวนทำการยึดตรวจหา การใช้อำนาจนี้มีอำนาจสามารถทำการตรวจสอบเคร่าๆ ก่อนที่จะมีการตรวจสอบทางการเงิน และด้วยเช่นกัน
    • ก. ผู้พิพากษาสอบสวนมีอำนาจในการออกคำสั่งให้ยึด มีอำนาจในการยื่นหนังสือถึงผู้ที่จะถูกตรวจสอบ ให้แสดงรายการทรัพย์สินที่ได้มาจากการประกอบการทุจริต
    • ข. ผู้พิพากษาสอบสวนไม่จำเป็นด้วยตนเองต้อง ทำการตรวจสอบโดยอนุญาตให้ทนายความคดีอาญาเป็นผู้ร่วมอยู่ด้วยในการทำการตรวจสอบ

 

มาตรา 126c ประมวลกฎหมายอาญา

  1. ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอัยการสามารถทำการยึดทรัพย์ในแต่ละที่ อย่างเช่น ที่อยู่อาศัย โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ที่อาศัยอยู่ หรือสำนักงานของบุคคล โดยอัยการมีอำนาจ ตามมาตรา 218 ในการตรวจค้นหาในกรณีสงสัยว่าทรัพย์สินดังกล่าวหรือรายละเอียด ดังในมาตรา 126a  หรือ สิ่งของ ( voorwerpen ) ตามที่ปรากฏในมาตรา 94a 

 

มาตรา 94a ประมวลกฎหมายอาญา

  1. ในกรณีมีการสงสัยว่ามีการกระทำผิด สามารถวางโทษปรับเงินประเภทที่ 5 สามารถทำการยึดทรัพย์สินหรือทำการอายัติ
  2. ในกรณีมีการสงสัย หรือมีการตัดสินว่ามีการทำผิด มีการวางโทษปรับเงินในประเภทที่ 5 สามารถทำการยึดทรัพย์สินหรือทำการอายัติ ถ้ามีการกระทำผิดจริง บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่รัฐ เป็นการยึดสิ่งที่ได้มาจากการประกอบการทุจริต
  3. ทรัพย์สินในครอบครองของบุคคลที่กล่าวถึงในวรรคแรก สามารถวางโทษปรับเงิน หรือบุคคลที่หมายถึงในวรรคที่ 2ทรัพย์สินที่ได้มาจากการประกอบการทุจริต สามารถถูกยึดได้ในกรณี
    • ก. เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการประกอบการทุจริต
    • ข. มีหลักฐานพอเพียงว่าทรัพย์สินไปอยู่ในครอบครองของผู้อื่นโดยการรขายทรัพย์สินนี้ มีความยากลำบากหรือ  การขัดขวาง และ
    • ค. บุคคลอื่นในช่วงที่มีการครอบครองนั้นทราบว่าทรัพย์สินนั้นได้มาจากการกระทำทุจริต
  4. ในกรณีที่กล่าวถึงในวรรคที่3 สามารถยึดทรัพย์สินจากบุคคลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยที่ผู้นั้นครอบครองทรัพย์สินอยู่
  5. ภายใต้คำว่าทรัพย์สินเป็นที่เข้าใจว่า ธุระกิจต่างๆ และหุ้น พันธบัตร

 

มาตรา 126nc ประมวลกฎหมายอาญา

  1. ในกรณีมีการสงสัยว่ามีการกระทำทุจริต เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของบุคคลนี้ พนักงานสอบสวนสามารถทำการบันทึกรายละเอียดของบุคคล รายละเอียดบัตรประจำตัวซึ่งบุคคลนี้ต้องให้ความร่วมมือ
  2. ภายใต้รายละเอียดบัตรประจำตัวหมายถึง
    • ก. ชื่อ ที่อยู่ ที่อาศัย และที่อยู่สำหรับส่งไปรษณีย์
    • ข. วันเดือนปีเกิด และ เพศ
    • ค. หมายเลขทางธุระการ
    • ง. ในกรณีเป็นนิติบุคคล มีรายละเอียดสถานที่ หมายถึงในข้อ ก และ ข ชื่อ ที่อยู่ ที่อยู่สำหรับส่งไปรษณีย์ชนิดของบริษัทว่าเป็น ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน เป็นต้น และสถานที่ที่จดทะเบียนทางการค้า
  3. การขอรายละเอียดส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่รวมถึง ศาสนา ความเชื่อ สีผิว ความคิดเห็นทางการเมือง สุขภาพ รสนิยมทางเพศ หรือ การเป็นสมาชิกของสมาคม ที่บุคคลนั้นมี
  4. การขอในวรรคแรกต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร และแจ้งข่าว
    • ก. ระบุว่าเป็นรายละเอียดของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
    • ข. รายละเอียดประจำตัวถูกขอ
    • ค. ช่วงเวลาและวิธีที่ให้รายละเอียด
    • ง. เหตุที่ทำให้ต้องขอรายละเอียดประจำตัว

 

มาตรา 126nd ประมวลกฎหมายอาญา

  1. ในกรณีมีการสงสัยว่ามีการกระทำทุจริต ดังที่ปรากฏในมาตรา 67 วรรคแรก เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ บุคคลที่คาดว่ากระทำผิด บุคลลผู้นี้ต้องให้รายละเอียดแก่อัยการ
  2. การขอที่หมายถึงในวรรคแรก ไม่สามารถพุ่งไปที่ผู้ต้องสงสัย มาตรา 96a วรรคที่3 การขอต้องไม่ไม่รวมถึง ศาสนา ความเชื่อ สีผิว ความคิดเห็นทางการเมือง สุขภาพ รสนิยมทางเพศหรือ การเป็นสมาชิกของสมาคม ที่บุคคลนั้นมี
  3. การขอในวรรคแรกต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร และแจ้งข่าว
    • ก. ในกรณีเป็นที่รู้จัก ชื่อ หรือสิ่งอื่น ให้ระบุอย่างละเอียดในรายละเอียดของบุคคลที่ถูกขอ
    • ข. ระบุอย่างละเอียดที่สุดในรายละเอียดที่ให้มา
    • ค. เหตุที่ทำให้ต้องขอรายละเอียดประจำตัว

 

มาตรา 2 กฎหมายฝิ่น

ห้ามมีสิ่งตามปรากฏในรายการที่1 ในกฎหมายการครอบครอง ในมาตรา 3a   วรรคที่ 5 :

  • ก. ห้ามนำเข้ามาภายในหรือภายนอกบนพื้นดินประเทศเนเธอร์แลนด์
  • ข. ห้ามมีการเตรียม การเติม การจำหน่าย การนำส่ง การให้ หรือการขนส่ง
  • ค. ห้ามมีไว้ในครอบครอง
  • ง. ห้ามทำ ห้ามผลิต

 

มาตรา 10 กฎหมายฝิ่น

  1. บุคคลที่ทำการค้าฝิ่นกระทำผิด :
    • ก. หนึ่งในมาตรา 2   มาตรา 3b วรรคแรก หรือ หนึ่งในมาตรา 4  วรรคที่3 ห้ามกระทำ
    • ข. มาตรา 3c   วรรคที่2 หรือ มาตรา 4 วรรคแรกหรือวรรคที่ 2 ต้องปฏิบัติ
    • ค. มาตรา 8a วรรคแรก ได้รับการยกเว้นในข้อห้ามบัญญัติโทษสูงสุด 6 เดือน หรือ ปรับในประเภทที่ 4 บุคคลใดตั้งใจทำเพื่อการค้า กระทำผิดตามมาตรา 2 อนุมาตรา c ในมาตรา 3b หรือในมาตรา 4 วรรคที่ 3
      • ห้ามทำ บัญญัติโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือ ปรับในประเภทที่ 5
  2. บุคคลใดตั้งใจทำเพื่อการค้า กระทำผิดตามมาตรา 2 อนุมาตรา B หรือ D ห้ามกระทำ บัญญัติโทษจำคุกสูงสุด 8 ปี หรือ ปรับในประเภทที่ 5
  3. บุคคลใดตั้งใจทำเพื่อการค้า กระทำผิดตามมาตรา 2 อนุมาตรา A ห้ามกระทำ บัญญัติโทษจำคุกสูงสุด 12 ปี หรือ ปรับในประเภทที่ 5
  4. ในกรณีที่มีจำนวนเล็กน้อยเพื่อไว้ใช้ส่วนตัว บัญญัติโทษจำคุกสูงสุด 1 ปี หรือ ปรับในประเภทที่ 3

 

มาตรา 10a กฎหมายฝิ่น

  1. บุคคลใดตามวรรคที่ 3 หรือวรรคที่ 4 มาตรา 10 ในการเตรียม หรือกระตุ้น
    • 10   ผู้ใดพยายาม เคลื่อนไหว เพื่อที่จะทำ  กระทำ ร่วมทำ หรือล่อลวง เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือ ให้มีโอกาส สื่อกลาง หรือให้ข้อมูล
    • 20   ให้โอกาส  เป็นสื่อกลาง ให้ข้อมูลตลอดจนกระทำ โดยตนเอง หรือให้ผู้อื่น  พยายามให้
    • 30  ทรัพย์สินต่างๆ สื่อกลางที่ใช้ 6 ปี หรือ ปรับในประเภทที่ 5
  2. ไม่มีโทษ ถ้าบุคคล ข้ออธิบายในวรรคแรก นำเข้ามาภายในหรือภายนอกบนพื้นดินประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นจำนวนเล็กน้อยเพื่อไว้ใช้ส่วนตัว

 

กฎหมายอาวุธ และกระสุน

มาตรา 26 กฎหมายอาวุธ และกระสุน

  1. ห้ามมีอาวุธหรือกระสุนประเภทที่ 2 และ 3 มีไว้ในครอบครอง
  2. ในวรรคแรก ยกเว้นสำหรับบุคคลผู้มีหรือถือ :
    • ก. การอนุญาตตามมาตรา 28 วรรคแรกของกฎหมายอนุญาต
    • ข. ใบอนุญาตล่าสัตว์ ในกฎหมายล่าสัตว์ เกี่ยวข้องกับการล่า  อาวุธและกระสุน ประเภทที่ 3 ในใบอนุญาตล่าสัตว์ ได้อธิบายไว้
  3. รัฐมนตรีของเราสามารถให้อนุญาต ในข้อห้ามในวรรคแรกของกฎหมายอาวุธและกระสุน ประเภท 3 เกี่ยวข้องกับการกับผู้ล่าสัตว์ และ การยิงปืนเพื่อการกีฬา ที่มีไว้ในที่อยู่ถาวร-หรือ ที่พักภายนอกประเทศเนเธอร์แลนด์
  4. รัฐมนตรีของเรา เกี่ยวข้องกับบุคคลในวรรคที่2 สามารถให้ได้ดังนื้
    • ก. มีสุขภาพดี และมีทักษะในการใช้อาวุธ
    • ข.  มีความรู้ในเรื่องอาวุธ และ
    • ค. มีจำนวนอาวุธจำนวนสูงสุดเท่าที่มีได้
  5. ห้ามบุคคลที่มีอายุยังไม่ถึง 18 ปี มีอาวุธประเภท 4 ไว้ในครอบครอง
  6. รัฐมนตรีของสามารถจัดการให้ยกเว้นข้อห้ามในกรณี ฝึกยิงปืนเพื่อการกีฬา (สมาคมยิงปืน)