Author Archives: Watcharee Kasiban

  • 0

ประมวลกฎหมายอาญาที่สำคัญๆ ของประเทศเนเธอร์แลนด์

แปลและเรียบเรียงโดย ปูชิตา รักวิทย์

มาตรา 36e ประมวลกฎหมายอาญา

  1. การขอตรวจ สำนักงานอัยการสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาล การตัดสินใจว่าผู้ที่ถูกตัดสินเนื่องจากความผิดทางอาญา มีการบังคับให้วางหลักทรัพย์จนกระทั่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่รัฐ ทำการยึดทรัพย์จากสิ่งที่ได้มาจากการกระทำผิดกฎหมาย
  2. การบังคับสามารถกระทำได้ตามวรรคแรก บุคคลใดได้ทรัพย์มาโดยกระทำความผิดมีโทษทางอาญา ถ้ามีหลักฐานพอว่าบุคคลนั้นทำความผิดจริง สามารถปรับเงินได้ซึ่งจัดอยู่ในประเภทที่ 5
  3. การขอตรวจ สำนักงานอัยการสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาล การตัดสินใจว่าผู้ที่ถูกตัดสินเนื่องจากการกระทำความผิด ซึ่งสามารถปรับเงินจัดอยู่ในประเภทที่ 5 และต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิด ที่ถูกตรวจสอบทางการเงิน การบังคับให้วางหลักทรพย์จนกระทั่งการปรับเป็นเงินให้แก่รัฐ การยึดทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด ทำได้ในกรณีที่การตรวจสอบพบว่าได้ทรัพย์นั้นมาโดยการประกอบกิจทุจริต ซึ่งผู้นั้นถูกตัดสินในข้อหานี้
  4. ผู้พิพากษาจะทำการประมาณจำนวนเงินที่ได้มาจากการประกอบทุจริต มูลค่าของสิ่งของที่ได้มาจากการประกอบทุจริตจะถูกคำนวน สามารถประมาณค่าตามมูลค่าในท้องตลาด ใช้เวลาในการตัดสินใจการขายทอดตลาดเพื่อจะได้เงินมา ผู้พิพากษาสามารถให้ผู้กระทำผิดจ่ายต่ำกว่ามูลค่าที่ได้ประมาณไว้
  5. ภายใต้สิ่งของ(voorwerpen )เป็นที่เข้าใจว่า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรือทรัพย์สินต่างๆ
  6. ในการกำหนดจำนวนเงินที่ถูกกะประมาณในทรัพย์สินที่ได้มาจากการประกอบการทุจริตนั้น ถ้ายอมรับสารภาพ จำนวนเงินก็จะลดน้อยลง
  7. จะใช้มาตรการใดต้องคำนึงถึงการตัดสินหลักก่อนนี้ การบังคับให้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง การยึดจากทรัพย์สินที่ได้มาจากการประกอบการทุจริต
  8. การบีบบังคับสามารถกระทำได้ตามมาตรา 577c ตามประมวลกฎหมายลักษณะการลงโทษทางอาญา โดยผู้พิพากษาเป็นผู้ออกคำสั่งสูงสุดเป็นระยะเวลา 3 ปี และบังคับใช้เป็นกฎที่ต้องปฏิบัติ

 

มาตรา 197 a ประมวลกฎหมายอาญา

  1. บุคคลใดที่ช่วยผู้อื่น ทำให้เข้ามา จนกระทั่งเดินทางเข้าในประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศอื่นๆที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปไอแลนด์ นอร์เวย์ หรือ รัฐที่เข้าร่วมในสนธิสัญญา  ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2543 (ค.ศ.2000) แห่งมหานครนิวยอร์ค สนธิสัญญาต่อต้านการลักลอบอพยพเข้าประเทศทางบก ทางทะเล และทางอากาศ   มีการเพิ่มเติมในวันที่ 15 พฤศจิกายนพ.ศ.2543 (ค.ศ.2005) แห่งมหานครนิวยอร์ค สนธิสัญญาต่อต้านการกระทำผิดลักลอบเข้าประเทศ ให้โอกาส เป็นคนกลาง หรือให้ข้อมูล ในขณะที่ผู้นั้นทราบดีว่าการเข้ามา หรือเดินทางเข้ามานั้นผิดกฎหมาย มีความผิดฐานลักลอบคนนำเข้าประเทศโดยผิดกฎหมาย มีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือปรับเงินในประเภทที่ 5
  2. บุคคลใดที่ได้เงินจากการช่วยผู้อื่นให้พักอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศอื่นๆที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ไอแลนด์ นอร์เวย์ หรือ รัฐที่กล่าวถึงในทางการฑูต หรือ บุคคลนั้นให้โอกาส เป็นคนกลาง หรือให้ข้อมูลในขณะที่ผู้นั้นทราบดีว่าการเข้ามา หรือเดินทางเข้ามานั้นผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือปรับเงินในประเภทที่ 5
  3. ในกรณีที่ข้าราชการเป็นผู้กระทำวางโทษจำคุกสูงสุด 6 ปี หรือปรับเงินในประเภทที่ 5 และปลดจากหน้าที่
  4. ในกรณีที่บุคคลที่มีอาชีพหรือคนทั่วไปกระทำหรือร่วมมือกับบุคคลอื่นหลายๆคน วางโทษจำคุกสูงสุด 8 ปี หรือปรับเงินในประเภทที่ 5
  5. ในกรณีที่ทำให้ผู้อื่นหวาดกลัว ทำให้ส่วนของร่างกายได้รับบาดเจ็บสาหัสอันตรายต่อชีวิต วางโทษจำคุกสูงสุด 12 ปี
  6. ในกรณีทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต วางโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี หรือปรับเงินในประเภทที่ 5

 

มาตรา 140 ประมวลกฎหมายอาญา

  1. ผู้ที่เข้าร่วมกับองค์กรที่มีเป้าหมายในการกระทำความผิด มีโทษจำคุกสูงสุด 6 ปี หรือปรับเงินในประเภทที่ 5
  2. ผู้ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของนิติบุคคล ซึ่ง ศาลตัดสินห้าม ไม่มี(บริษัทนี้)อยู่ แต่ยังคงทำกิจกรรมนั้นอยู่ มีโทษจำคุกสูงสุด 1 ปี หรือปรับประเภท 3
  3. เนื่องจากเป็นผู้ก่อตั้ง ผู้นำ คณะกรรมการ ทำให้ได้รับโทษสูงขึ้น1ใน3
  4. การมีส่วนในองค์กร การให้ยืมเงิน- หรือ การให้ยืมสิ่งของอื่นๆ การหาหรือรวบรวมงิน หรือ บุคคลเพื่อองค์กร

 

มาตรา 287 ประมวลกฎหมายอาญา

  • บุคคลใดตั้งใจทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ความผิดฐานฆ่าโดยบันดาลโทสะ มีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี หรือปรับประเภทที่ 5

 

มาตรา 289 ประมวลกฎหมายอาญา

  • บุคคลใดตั้งใจและวางแผนทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ทีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น โทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกสูงสุด 30 ปี หรือปรับประเภทที่ 5

 

มาตรา 317 ประมวลกฎหมายอาญา

  1. บุคคลใดกระทำผิดเพื่อให้ได้บางสิ่งมา โดยใช้ความรุนเรง หรือข่มขู่โดยใช้ความรุนแรงบังคับ เช่น ความผิดจากการรีดไถ โทษจำคุกสูงสุด 9 ปี หรือปรับประเภทที่ 5
  2. บุคคลใดที่บีบบังคับผู้อื่น จะได้รับโทษเช่นเดียวกันนี้ ดังในวรรคแรก ทำการข่มขู่บีบบังคับ
  3. ดังที่กำหนดไว้ในวรรคที่ 2 ที่ 3 ในมาตรา 312 การกระทำความผิด

 

กฎหมายการลงโทษทางอาญา

มาตรา 126 ประมวลกฎหมายอาญา

  1. ในกรณีสงสัยว่ามีการกระทำความผิด ซึ่งสามารถปรับเงินประเภทที่ 5 การกระทำทุจริตซึ่งทำให้ได้มาแห่งทรัพย์สิน และสามารถยื่นทำการตรวจสอบทางการเงินได้
  2. การตรวจสอบทางการเงินโทษทางอาญาพุ่งเป้าไปที่ผู้ต้องสงสัยที่กระทำทุจริตแล้วได้มาซึ่งทรัพย์สิน เป้าหมายคือทำการยึดทรัพย์ ตามมาตรา 36e ตามประมวลกฎหมายอาญา

 

มาตรา 126a ประมวลกฎหมายอาญา

  1. มาตรานี้เพิ่มจากมาตรา 126 การมอบฉันทะให้ทำการตรวจสอบทางการเงินโดยพนักงานสอบสวนจะแสดงหนังสือมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อจะได้ทราบถึงทรัพย์สินของบุคคลที่ทำการตรวจสอบ บุคคลที่ขัดขวางการตรวจสอบนี้ สามารถสั่งให้
    • ก. บอกให้ข้อมูลหรือให้รายละเอียดของทรัพย์สิน ไม่ใช่รายละเอียดดังในมาตรา126nd วรรคที่2 ประโยคที่3 ทั้งประโยค
    • ข. แจ้งทรัพย์สินหรือ และ ว่า ส่วนของทรัพย์ที่เขามีหรือเคยมี เคยครอบครองแก่บุคคลที่ทำการตรวจสอบทางการเงิน และแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรในทรัพย์สินที่ทำการยึด

 

มาตรา 126b ประมวลกฎหมายอาญา

  1. ช่วงเวลาที่มีการตรวจสอบทางการเงิน อัยการมีอำนาจ    ตามมาตรา 94 โดยไม่ต้องมีการมอบฉันทะอื่นจากศาล ให้ทำการยึดทรัพย์สินตามมาตรา 94a
  2. ในกรณีที่อัยการปฏิบัติการตรวจสอบทางการเงิน ในกรณีจำเป็น อัยการสามารถร้องขอให้ผู้พิพากษาสอบสวนทำการยึดตรวจหา การใช้อำนาจนี้มีอำนาจสามารถทำการตรวจสอบเคร่าๆ ก่อนที่จะมีการตรวจสอบทางการเงิน และด้วยเช่นกัน
    • ก. ผู้พิพากษาสอบสวนมีอำนาจในการออกคำสั่งให้ยึด มีอำนาจในการยื่นหนังสือถึงผู้ที่จะถูกตรวจสอบ ให้แสดงรายการทรัพย์สินที่ได้มาจากการประกอบการทุจริต
    • ข. ผู้พิพากษาสอบสวนไม่จำเป็นด้วยตนเองต้อง ทำการตรวจสอบโดยอนุญาตให้ทนายความคดีอาญาเป็นผู้ร่วมอยู่ด้วยในการทำการตรวจสอบ

 

มาตรา 126c ประมวลกฎหมายอาญา

  1. ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอัยการสามารถทำการยึดทรัพย์ในแต่ละที่ อย่างเช่น ที่อยู่อาศัย โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ที่อาศัยอยู่ หรือสำนักงานของบุคคล โดยอัยการมีอำนาจ ตามมาตรา 218 ในการตรวจค้นหาในกรณีสงสัยว่าทรัพย์สินดังกล่าวหรือรายละเอียด ดังในมาตรา 126a  หรือ สิ่งของ ( voorwerpen ) ตามที่ปรากฏในมาตรา 94a 

 

มาตรา 94a ประมวลกฎหมายอาญา

  1. ในกรณีมีการสงสัยว่ามีการกระทำผิด สามารถวางโทษปรับเงินประเภทที่ 5 สามารถทำการยึดทรัพย์สินหรือทำการอายัติ
  2. ในกรณีมีการสงสัย หรือมีการตัดสินว่ามีการทำผิด มีการวางโทษปรับเงินในประเภทที่ 5 สามารถทำการยึดทรัพย์สินหรือทำการอายัติ ถ้ามีการกระทำผิดจริง บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่รัฐ เป็นการยึดสิ่งที่ได้มาจากการประกอบการทุจริต
  3. ทรัพย์สินในครอบครองของบุคคลที่กล่าวถึงในวรรคแรก สามารถวางโทษปรับเงิน หรือบุคคลที่หมายถึงในวรรคที่ 2ทรัพย์สินที่ได้มาจากการประกอบการทุจริต สามารถถูกยึดได้ในกรณี
    • ก. เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการประกอบการทุจริต
    • ข. มีหลักฐานพอเพียงว่าทรัพย์สินไปอยู่ในครอบครองของผู้อื่นโดยการรขายทรัพย์สินนี้ มีความยากลำบากหรือ  การขัดขวาง และ
    • ค. บุคคลอื่นในช่วงที่มีการครอบครองนั้นทราบว่าทรัพย์สินนั้นได้มาจากการกระทำทุจริต
  4. ในกรณีที่กล่าวถึงในวรรคที่3 สามารถยึดทรัพย์สินจากบุคคลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยที่ผู้นั้นครอบครองทรัพย์สินอยู่
  5. ภายใต้คำว่าทรัพย์สินเป็นที่เข้าใจว่า ธุระกิจต่างๆ และหุ้น พันธบัตร

 

มาตรา 126nc ประมวลกฎหมายอาญา

  1. ในกรณีมีการสงสัยว่ามีการกระทำทุจริต เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของบุคคลนี้ พนักงานสอบสวนสามารถทำการบันทึกรายละเอียดของบุคคล รายละเอียดบัตรประจำตัวซึ่งบุคคลนี้ต้องให้ความร่วมมือ
  2. ภายใต้รายละเอียดบัตรประจำตัวหมายถึง
    • ก. ชื่อ ที่อยู่ ที่อาศัย และที่อยู่สำหรับส่งไปรษณีย์
    • ข. วันเดือนปีเกิด และ เพศ
    • ค. หมายเลขทางธุระการ
    • ง. ในกรณีเป็นนิติบุคคล มีรายละเอียดสถานที่ หมายถึงในข้อ ก และ ข ชื่อ ที่อยู่ ที่อยู่สำหรับส่งไปรษณีย์ชนิดของบริษัทว่าเป็น ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน เป็นต้น และสถานที่ที่จดทะเบียนทางการค้า
  3. การขอรายละเอียดส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่รวมถึง ศาสนา ความเชื่อ สีผิว ความคิดเห็นทางการเมือง สุขภาพ รสนิยมทางเพศ หรือ การเป็นสมาชิกของสมาคม ที่บุคคลนั้นมี
  4. การขอในวรรคแรกต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร และแจ้งข่าว
    • ก. ระบุว่าเป็นรายละเอียดของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
    • ข. รายละเอียดประจำตัวถูกขอ
    • ค. ช่วงเวลาและวิธีที่ให้รายละเอียด
    • ง. เหตุที่ทำให้ต้องขอรายละเอียดประจำตัว

 

มาตรา 126nd ประมวลกฎหมายอาญา

  1. ในกรณีมีการสงสัยว่ามีการกระทำทุจริต ดังที่ปรากฏในมาตรา 67 วรรคแรก เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ บุคคลที่คาดว่ากระทำผิด บุคลลผู้นี้ต้องให้รายละเอียดแก่อัยการ
  2. การขอที่หมายถึงในวรรคแรก ไม่สามารถพุ่งไปที่ผู้ต้องสงสัย มาตรา 96a วรรคที่3 การขอต้องไม่ไม่รวมถึง ศาสนา ความเชื่อ สีผิว ความคิดเห็นทางการเมือง สุขภาพ รสนิยมทางเพศหรือ การเป็นสมาชิกของสมาคม ที่บุคคลนั้นมี
  3. การขอในวรรคแรกต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร และแจ้งข่าว
    • ก. ในกรณีเป็นที่รู้จัก ชื่อ หรือสิ่งอื่น ให้ระบุอย่างละเอียดในรายละเอียดของบุคคลที่ถูกขอ
    • ข. ระบุอย่างละเอียดที่สุดในรายละเอียดที่ให้มา
    • ค. เหตุที่ทำให้ต้องขอรายละเอียดประจำตัว

 

มาตรา 2 กฎหมายฝิ่น

ห้ามมีสิ่งตามปรากฏในรายการที่1 ในกฎหมายการครอบครอง ในมาตรา 3a   วรรคที่ 5 :

  • ก. ห้ามนำเข้ามาภายในหรือภายนอกบนพื้นดินประเทศเนเธอร์แลนด์
  • ข. ห้ามมีการเตรียม การเติม การจำหน่าย การนำส่ง การให้ หรือการขนส่ง
  • ค. ห้ามมีไว้ในครอบครอง
  • ง. ห้ามทำ ห้ามผลิต

 

มาตรา 10 กฎหมายฝิ่น

  1. บุคคลที่ทำการค้าฝิ่นกระทำผิด :
    • ก. หนึ่งในมาตรา 2   มาตรา 3b วรรคแรก หรือ หนึ่งในมาตรา 4  วรรคที่3 ห้ามกระทำ
    • ข. มาตรา 3c   วรรคที่2 หรือ มาตรา 4 วรรคแรกหรือวรรคที่ 2 ต้องปฏิบัติ
    • ค. มาตรา 8a วรรคแรก ได้รับการยกเว้นในข้อห้ามบัญญัติโทษสูงสุด 6 เดือน หรือ ปรับในประเภทที่ 4 บุคคลใดตั้งใจทำเพื่อการค้า กระทำผิดตามมาตรา 2 อนุมาตรา c ในมาตรา 3b หรือในมาตรา 4 วรรคที่ 3
      • ห้ามทำ บัญญัติโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือ ปรับในประเภทที่ 5
  2. บุคคลใดตั้งใจทำเพื่อการค้า กระทำผิดตามมาตรา 2 อนุมาตรา B หรือ D ห้ามกระทำ บัญญัติโทษจำคุกสูงสุด 8 ปี หรือ ปรับในประเภทที่ 5
  3. บุคคลใดตั้งใจทำเพื่อการค้า กระทำผิดตามมาตรา 2 อนุมาตรา A ห้ามกระทำ บัญญัติโทษจำคุกสูงสุด 12 ปี หรือ ปรับในประเภทที่ 5
  4. ในกรณีที่มีจำนวนเล็กน้อยเพื่อไว้ใช้ส่วนตัว บัญญัติโทษจำคุกสูงสุด 1 ปี หรือ ปรับในประเภทที่ 3

 

มาตรา 10a กฎหมายฝิ่น

  1. บุคคลใดตามวรรคที่ 3 หรือวรรคที่ 4 มาตรา 10 ในการเตรียม หรือกระตุ้น
    • 10   ผู้ใดพยายาม เคลื่อนไหว เพื่อที่จะทำ  กระทำ ร่วมทำ หรือล่อลวง เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือ ให้มีโอกาส สื่อกลาง หรือให้ข้อมูล
    • 20   ให้โอกาส  เป็นสื่อกลาง ให้ข้อมูลตลอดจนกระทำ โดยตนเอง หรือให้ผู้อื่น  พยายามให้
    • 30  ทรัพย์สินต่างๆ สื่อกลางที่ใช้ 6 ปี หรือ ปรับในประเภทที่ 5
  2. ไม่มีโทษ ถ้าบุคคล ข้ออธิบายในวรรคแรก นำเข้ามาภายในหรือภายนอกบนพื้นดินประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นจำนวนเล็กน้อยเพื่อไว้ใช้ส่วนตัว

 

กฎหมายอาวุธ และกระสุน

มาตรา 26 กฎหมายอาวุธ และกระสุน

  1. ห้ามมีอาวุธหรือกระสุนประเภทที่ 2 และ 3 มีไว้ในครอบครอง
  2. ในวรรคแรก ยกเว้นสำหรับบุคคลผู้มีหรือถือ :
    • ก. การอนุญาตตามมาตรา 28 วรรคแรกของกฎหมายอนุญาต
    • ข. ใบอนุญาตล่าสัตว์ ในกฎหมายล่าสัตว์ เกี่ยวข้องกับการล่า  อาวุธและกระสุน ประเภทที่ 3 ในใบอนุญาตล่าสัตว์ ได้อธิบายไว้
  3. รัฐมนตรีของเราสามารถให้อนุญาต ในข้อห้ามในวรรคแรกของกฎหมายอาวุธและกระสุน ประเภท 3 เกี่ยวข้องกับการกับผู้ล่าสัตว์ และ การยิงปืนเพื่อการกีฬา ที่มีไว้ในที่อยู่ถาวร-หรือ ที่พักภายนอกประเทศเนเธอร์แลนด์
  4. รัฐมนตรีของเรา เกี่ยวข้องกับบุคคลในวรรคที่2 สามารถให้ได้ดังนื้
    • ก. มีสุขภาพดี และมีทักษะในการใช้อาวุธ
    • ข.  มีความรู้ในเรื่องอาวุธ และ
    • ค. มีจำนวนอาวุธจำนวนสูงสุดเท่าที่มีได้
  5. ห้ามบุคคลที่มีอายุยังไม่ถึง 18 ปี มีอาวุธประเภท 4 ไว้ในครอบครอง
  6. รัฐมนตรีของสามารถจัดการให้ยกเว้นข้อห้ามในกรณี ฝึกยิงปืนเพื่อการกีฬา (สมาคมยิงปืน)

  • 0
ภาพจากงานสัมมนาเหลียวหลัง แลหน้า การทำงานอาสาสมัครไทยในต่างแดน

เหลียวหลัง แลหน้า การทำงานอาสาสมัครของคนไทยในต่างแดน

เรียบเรียงโดย วัชรี กสิบาล

ปูชิตา รักวิทย์

เรียบเรียงจากการบรรยายในหัวข้อ “เหลียวหลัง แลหน้า การทำงานอาสาสมัครของคนไทยในประเทศเยอรมนี” ของ ดร.พัทยา เรือนแก้ว ประธานสมาคม NTO ที่งานสัมนา “เพื่อนคู่คิด พี่สอนน้อง” ณ เมืองมันไฮน์ วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๙

IMG_0960

ถึงแม้ว่าการบรรยายครั้งนี้ ผู้บรรยายจะกล่าวถึงผลของงานวิจัยจากการเก็บข้อมูลการทำงานอาสาสมัครของคนไทยในเยอรมนีเป็นสำคัญ แต่ผู้เรียบเรียงเห็นว่า เนื้อหาในการบรรยายนี้มีประโยชน์ และสามารถมาปรับใช้กับการทำงานอาสาสมัครไทยในต่างแดนประเทศอื่นๆ ได้

 

เหลียวหลัง

ความเป็นมาของงานอาสาสมัครไทยในเยอรมนี

งานอาสาสมัครไทยในเยอรมนีมักเริ่มขึ้นจากการเป็นล่าม โดยเมื่อช่วงศตวรรษที่ ๘๐ เมื่อมีหญิงไทยจำนวนมากที่เดินทางเข้ามาประเทศเยอรมนี และบางส่วนของหญิงไทยเหล่านี้ ก็เข้ามาเพื่อทำงานค้าบริการทางเพศ หรือบ้างก็เข้ามาเพื่อแต่งงานกับชายชาวเยอรมันโดยผ่านสำนักงานจัดหาคู่ ทำให้ภาพพจน์ของหญิงไทยเป็นที่รู้จักในสังคมเยอรมันในขณะนั้นว่า เป็น “หญิงบริการทางเพศ” หรือไม่ก็ “เมียสั่งทางไปรษณีย์” และต่อมาเมื่อหญิงไทยเหล่านี้ ประสบปัญหา ต้องการความช่วยเหลือ ล่ามจึงเป็นบุคลากรที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับตำรวจ และหน่วยงานราชการเยอรมนี เพื่อช่วยในการสื่อสารระหว่างหญิงไทยที่ประสบปัญหากับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

แต่เนื่องจากองค์กรของเยอรมันที่ทำงานช่วยเหลือหญิงต่างชาติที่ประสบปัญหาในเยอรมนี ที่มีเจ้าหน้าที่คนไทยทำงานมีจำนวนจำกัด เมื่อหญิงไทยมีปัญหาจึงมักหันมาพึ่งเพื่อนร่วมชาติด้วยกันเอง ที่มีความรู้ดี และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายเยอรมัน คนไทยเหล่านี้จึงกลายมาเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่คนไทยที่มีปัญหา และกลายมาเป็นอาสาสมัครให้ความช่วยเหลือคนไทยในที่สุด นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของงานอาสาสมัครไทยในเยอรมนี

คนที่มาเป็นอาสาสมัครนั้น มักเป็นคนที่มีความพร้อมทั้งด้านครอบครัว และฐานะทางเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่มีการศึกษาค่อนข้างดี มีความรู้ภาษาเยอรมันในระดับที่ดี สามารถเข้าใจและติดต่อราชการได้

หากแต่ว่างานอาสาสมัครส่วนใหญ่มักมีลักษณะเป็นงานสังคมสงเคราะห์ ไม่ใช่การสอนให้ผู้ประสบปัญหาสามารถแก้ปัญหา และยืนได้ด้วยตัวเองในระยะยาว

จากอาสาสมัครที่ทำงานช่วยเหลือคนไทยที่ทำงานเป็นลักษณะปัจเจกบุคคล  ก็พัฒนามาเป็นกลุ่มหญิงไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะดำเนินกิจกรรมทางสังคม ช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อน สิ่งหนึ่งที่หญิงไทยเหล่านี้ตระหนักเป็นอย่างดีก็คือ การดำเนินการใด ๆ หากร่วมกัน ย่อมจะมีพลังและประสิทธิผลมากกว่าการดำเนินการเพียงลำพัง กลุ่มในลักษณะนี้กลุ่มแรก คือ ธารา (THARA)

เมื่อพิจารณาตามวัตถุประสงค์ และการดำเนินงาน อาจมองได้ว่ากลุ่มคนไทยมี ๓ ประเภท คือ

๑. กลุ่มที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรักษา ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และพิธีกรรมของไทย
๒. กลุ่มที่ตั้งขึ้นเพื่อรักษาและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
๓. กลุ่มที่ดำเนินกิจกรรมทางสังคมเพื่อการช่วยเหลือตนเอง

โดยกิจกรรมที่ดำเนินงานของกลุ่มประเภทที่ ๓ ได้แก่

– เผยแพร่ความรู้ ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ แก่ประชาชนไทยในเยอรมนี

– เผยแพร่วัฒนธรรมไทยในประเทศเยอรมนี

– เสริมสร้างศักยภาพของอาสาสมัครไทยในเยอรมนี

 

จุดอ่อนของการทำงานของกลุ่มอาสาสมัครไทย

– ทำงานเลียนแบบกัน ไม่มีนวัตกรรม

– ไม่มีการปรับดัดแปลง หรือมีความพยายามน้อยที่จะ พัฒนาให้เกิดแนวคิดของตน หรือให้เหมาะกับประเทศที่ตนอยู่ ตัวอย่างเช่น เมื่ออาสาสมัครไทยในต่างแดน ต้องการที่จะจัดสัมนา ก็มักจะคิดถึงวิทยากรจากเมืองไทยเป็นอันดับแรก ทั้งๆที่ในประเทศที่ตนอยู่ก็มีคนที่มีความสามารถอยู่มาก เพียงแต่เขาเหล่านั้นไม่ใช่คนไทย พูดไทยไม่ได้

– ไม่มีการวางเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่มีการวางแผน ไม่มีความต่อเนื่อง ทำให้งานอาสาสมัครเป็นไปในเชิงตั้งรับ มีลักษณะเป็นงานสังคมสังเคราะห์ ไม่มีการวางแผนระยะยาว

– ไม่มีการเรียนรู้จากงานที่มีมาก่อน ไม่ทบทวน ทำให้หลายครั้งเกิดการกระทำผิดซ้ำๆ

– ไม่มีการจัดเก็บ จดบันทึกข้อมูล ทำให้องค์ความรู้ไม่ได้ถ่ายทอดจากอาสาสมัครรุ่นสู่รุ่น

– ในระหว่างสมาคม หรือระหว่างกลุ่มอาสาสมัครกันเอง ไม่มีการทำงานร่วมกัน บางครั้งก็มองดูเหมือนเป็นการแข่งขันกันเอง (เนื่องจากทำงานเลียนแบบกัน)

– ด้วยนิสัยไทยๆ ทำให้อาสาสมัครหลีกเลี่ยงที่จะแสดงความคิดเห็นต่อหน้า โดยเฉพาะความคิดเห็นในเชิงลบ

 

สาเหตุ

– ขาดประสบการณ์ ทักษะในการทำงานองค์กร

– ขาดทักษะในการพัฒนากระบวนการคิด วิพากษ์ตนเอง ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการพัฒนาตนเอง หากรู้จักวิพากษ์ตนเอง จะทำให้เห็นจุดด้อยของตน และปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

– ยึดติดกับการทำงานแบบไทยๆ เช่น ระบบอาวุโส ทำให้ไม่กล้าที่จะเถียง หรือแสดงความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้ที่อาวุโสกว่า หรือคิดว่าผู้อาวุโสที่ตนเคารพทำอะไรก็ดี ก็ถูกเสมอ เนื่องจากมีความภักดีในตัวบุคคล แทนที่จะมาคิดพิจารณาโดยใช้วิจารณญาณของตัวเอง ว่าการกระทำใดถูก การกระทำใดชอบ

– ไม่ชัดเจนในด้านแรงจูงใจ แรงบันดาลใจว่าเข้ามาทำงานอาสาสมัครเพราะอะไร บางคนเข้ามาทำงานอาสาสมัครเพราะต้องการได้รับการยอมรับในสังคม แต่บางคนก็ด้วยจิตใจที่ต้องการช่วยเหลือจริง ๆ

 

แลหน้า

แนวทางปรับปรุงงานอาสาสมัครไทยในต่างแดน

เมื่อทราบจุดอ่อนของงานอาสาสมัครไทยในต่างแดน และสาเหตุแล้ว ต่อไปคือทางที่จะปรับปรุงให้งานอาสาสมัครไทยดียิ่งขึ้น

– ควรมีการสร้างทักษะในการทำงานองค์กร เช่น อบรมเทคนิคการบริหารจัดการ เทคนิคการฟัง – ซึ่งสำคัญมาก เพราะงานอาสาสมัครส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการฟัง เช่น ฟังปัญหาของผู้ได้รับความเดือดร้อน ฟังการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์จากเพื่อนอาสาสมัครด้วยกัน และเรียนรู้ในการแสดงความคิดเห็น

– การสร้างทักษะในการทำงานเป็นทีม ให้ทุกๆ คนในกลุ่มอาสาสมัครมีอุดมการณ์ร่วมกัน มีความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของทีม และเป็นส่วนที่จะขับเคลื่อนกลุ่มของตนให้ก้าวไปข้างหน้า

– สร้างทักษะในการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มอาสาสมัคร แสวงหาจุดร่วมระหว่างกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ เพื่อให้ทำงานประสานงานกันได้อย่างราบรื่น

– สร้างทักษะในเรื่องกระบวนการจัดการความคิด (Idea management)

– เรียนรู้เรื่องการจัดเก็บเอกสารเพื่อการถ่ายทอดความรู้จากอาสาสมัครรุ่นพี่ไปยังอาสาสมัครรุ่นน้อง และเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ขององค์กร

– ฝึกทักษะการรู้จักตนเอง หาเป้าหมายในการทำงานเพื่อให้สามารถทำงานอาสาสมัครได้อย่างยั่งยืน ไม่เดือดร้อนต่อตนเองและครอบครัว

– ทำงานอย่างมืออาชีพ การเป็นมืออาชีพในที่นี้หมายถึง ถึงแม้ในสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยให้อยากทำงาน แต่อาสาสมัครก็ยังทำงานที่ได้รับมอบหมายนั้นอย่างดี อย่างมีความรับผิดชอบ ตัดสินใจ วางแผนงานได้เอง

 

“…เวลานี้เราขาดคน ที่จะยอมตนเป็นอิฐก้อนแรกที่ทิ้งลงไป และก็จมอยู่ที่นั้น เพื่อให้ก้อนอื่นๆ ถมทับตนอยู่ที่นั่น และเสร็จแล้ว เจ้าก้อนที่จะปรากฎเป็นผู้รู้จักของสังคมก็คือ ก้อนที่อยู่เหนือก้อนอื่นสุด ส่วนก้อนแรกนั้น ก็จมดินอยู่นั่นเอง เราหาคนอย่างนี้ไม่ค่อยได้ จึงไม่ค่อยมีอะไรที่ใหม่ที่มีคุณค่าออกมา…”

 โกมล คีมทอง


  • 0
ภาพจากงานเทศกาลไทยครั้งที่ ๑๑ ณ กรุงเฮก

ภาพบรรยากาศการออกร้านในงานงานเทศกาลไทยครั้งที่ 11 ณ กรุงเฮก

ถ่ายภาพโดย สุกานดา ศรีเสน่ห์พร

เมื่อวันที่ ๒-๓ กรกฏาคม ๒๕๕๙ สถานทูตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้จัดงานเทศกาลไทย (Thailand Grand Festival) ที่ Het Plein กรุงเฮกขึ้น โดยงานเทศกาลไทยนี้ ได้จัดติดต่อกันมาเป็นปีที่ ๑๑ แล้ว

ภายในงานนี้มีเวทีการแสดงของเยาวชนไทยและกลุ่มแม่บ้านที่พำนักอยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ อีกทั้งยังมีศิลปินจากเมืองไทยมาร่วมงาน ได้แก่ พี สะเดิด, แพนเค้ก เขมนิจ และ เก่ง ณัฐิฏา ศรียานนท์ สร้างความครึกครื้นแก่คนไทยและชาวต่างชาติที่มาร่วมงาน ส่วนบริเวณรอบงานก็มีการออกร้านจำหน่ายอาหารไทยที่ขึ้นชื่อคือผัดไทย และส้มตำ มีร้านนวดแผนโบราณ งานขายสินค้าหัตถกรรมและงานฝีมือ เช่น สาธิตการร้อยมาลัยดอกไม้สด เป็นต้น

สมาคมล่ามและนักแปลไทย-ดัตช์ (Vereniging Tolken en Vertalers Thai-Nederlands) ได้ร่วมออกร้านจำหน่ายอาหารในครั้งนี้ด้วย เพื่อหาเงินเข้าสมาคมล่ามฯ และเพื่อประชาสัมพันธ์สมาคมล่ามฯ ให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชนไทยในเนเธอร์แลนด์ ทางเว็บไซต์จึงขอนำภาพบรรยากาศบางส่วนมาให้ชมกันค่ะ

 

ในงานเทศกาลไทยครั้งนี้ สมาคมล่ามฯ ได้ร่วมออกร้านจำหน่ายอาหารปักษ์ใต้ และเครื่องแกงปักษ์ใต้

ในงานเทศกาลไทยครั้งนี้ สมาคมล่ามฯ ได้ร่วมออกร้านจำหน่ายอาหาร และเครื่องแกงปักษ์ใต้

 

คุณณัฏฐกานต์ ใบเงิน สมาชิกสมาคมล่ามฯ ได้ร่วมออกร้านในครั้งนี้ด้วย โดยจำหน่ายและสาธิตการทำขนมสาคู ข้าวเกรียบปากหม้อ ซึ่งได้รับความสนใจจากทั้งชาวไทยและดัตช์เป็นอย่างมาก

 

TGF4

ถ่ายภาพร่วมกับลูกค้าขนมมะพร้าวแก้ว

 

คุณปูชิตา รักวิทย์ ถ่ายภาพร่วมกับท่านเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก นายอิทธิพร บุญประคอง

คุณปูชิตา รักวิทย์ ถ่ายภาพร่วมกับท่านเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก นายอิทธิพร บุญประคอง

 

TGF11

ท่านเอกอัครราชทูตฯ ถ่ายภาพร่วมกับพวกเราอย่างเป็นกันเอง

 

TGF14

ถ่ายภาพร่วมกับลูกค้าที่อุดหนุนมะพร้าวแก้ว

 

TGF9

แม่ค้าในงานแต่งชุดไทย ขายด้วยบรรยากาศยิ้มแย้ม สนุกสนาน

 

บรรยากาศหน้าเวที การเเสดงของพี สะเดิด

บรรยากาศหน้าเวที การเเสดงของพี สะเดิด

 

ลูกค้ากับเครื่องแกงปักษ์ใต้ของเรา

ลูกค้ากับเครื่องแกงปักษ์ใต้ของเรา

 

TGF8                                          TGF12

 

TGF10

TGF13

 

TGF3                            TGF6


  • 0
งานสัมนา "เพื่อนคู่คิด พี่สอนน้อง"

สรุปจากงานสัมนา “เพื่อนคู่คิด พี่สอนน้อง” ณ เมืองมันไฮน์ วันที่ ๒๔-๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๙

ภาพและเรื่องโดย : วัชรี กสิบาล

ปูชิตา รักวิทย์

 

ชมรมสื่อสัมพันธ์คนไทยในยุโรป เครือข่ายสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ร่วมกับสมาคมธารา โดยได้รับการสนับสนุนจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการฝึกอบรมในหัวข้อ “เพื่อนคู่คิดพี่สอนน้อง” ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ – ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ. Best Western Premier Steubenhof Hotel SteubenStrasse 66, 68199 Mannheim ซึ่งเป็นการสัมนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนะนำจากอาสาสมัครรุ่นอาวุโส แก่อาสาสมัครรุ่นใหม่ในเรื่องบทบาทของการทำงานอาสาสมัครจิตอาสาในต่างแดน ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพทางด้านต่างๆกันเช่นอาชีพล่ามหรือนักแปล อาชีพแพทย์พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ พร้อมการความสำคัญและประโยชน์ในการจดทะเบียนเป็น องค์กรสาธารณประโยชน์ในต่างแดน ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ในงานนี้ ตัวแทนของสมาคมล่ามและนักแปลไทย-ดัตช์ อันได้แก่ นางปูชิตา รักวิทย์ ประธานสมาคมล่ามฯ, นางวิกานดา เผ่าดิษฐ์ ที่ปรึกษาสมาคมล่ามฯ และ นางสาววัชรี กสิบาล ได้เข้าร่วมในงานสัมนาครั้งนี้ด้วย

ผลงานผัก-ผลไม้แกะสลักจากงานสัมนา“อาหารไทยไฉไลในต่างแดน" ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยวิทยากรแชมป์แกะสลัก สมรักษ์ อู่คล้า

ผลงานผัก-ผลไม้แกะสลักจากงานสัมนา“อาหารไทยไฉไลในต่างแดน” ซึ่งจัดขึ้นวันก่อนหน้านี้ ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยวิทยากรแชมป์แกะสลัก สมรักษ์ อู่คล้า

 

ท่านกงสุสใหญ่ประจำกรุงแฟรงก์เฟิร์ต นายเจริญรัฐ ฉิมสำราญ กล่าวเปิดงาน โดยท่านกงสุสได้กล่าวว่าภารกิจของกงสุสใหญ่ คือการให้ความช่วยเหลือคนไทยในเยอรมัน ทั้ง ๗ รัฐ การเข้าถึงคนไทยในพื้นที่ต่างๆ ของสถานกงสุสจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นเครือข่ายเพื่อนคนไทยจึงเป็นสิ่งที่ช่วยในการทำงานของสถานกงสุสเป็นอย่างมาก ทำให้สถานกงสุสสามารถทำงานได้อย่างหลากมิติขึ้น

ท่านกงสุลใหญ่ประจำกรุงแฟรงก์เฟิร์ต นายเจริญรัฐ ฉิมสำราญ กล่าวเปิดงาน

 

ผู้เข้าร่วมสัมนาในครั้งนี้ มาจากหลากหลายเมืองในประเทศเยอรมนี และจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์

ผู้เข้าร่วมสัมนาในครั้งนี้ มาจากหลากหลายเมืองในประเทศเยอรมนี และจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์

 

นางสุชาดา ไบเยอร์ บรรยายเรื่อง "ประสบการณ์งานอาสาในด้านวัฒนธรรมและดนตรีไทย" คุณสุชาดา ได้แชร์ประสบการณ์ว่า อุปสรรคในการทำงานอาสาคือ กำลังใจ, เวลา และความพร้อม กุญแจในความสำเร็จในการทำงานอาสา คือ มีการสื่อสารที่ดีทั้งกาย วาจา ใจ และถามตนเองอยู่เสมอว่า ทำเพื่ออะไร

นางสุชาดา ไบเยอร์ บรรยายเรื่อง “ประสบการณ์งานอาสาในด้านวัฒนธรรมและดนตรีไทย”

 

คุณจิตรา ราห์น บรรยายเรื่อง "งานอาสาทางพุทธศาสนา การช่วยเหลือกิจกรรมงานวัด"

คุณจิตรา ราห์น บรรยายเรื่อง “งานอาสาทางพุทธศาสนา การช่วยเหลือกิจกรรมงานวัด”

 

คุณปราณี ชวิงฮัมเมอร์ บรรยายเรื่อง "การทำงานล่ามกับงานอาสา" คุณปราณีกล่าวว่า งานจิตอาสาของเธอส่วนใหญ่ มักต่อเนื่องมาจากงานล่าม เนื่องจากขณะที่ทำหน้าที่ล่าม ต้องแปลอย่างเดียว ไม่สามารถให้คำแนะนำได้ ปัญหาของหญิงไทยในเยอรมนีส่วนใหญ่ คือ ปัญหาครอบครัว อันเนื่องมาจากการผิดไปจากความคาดหวัง ภาษา ระดับการศึกษาที่ต่างกัน การหวังที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้นในเยอรมนี แต่ชีวิตจริงไม่ได้เป็นอย่างที่ฝันไว้ ปัญหาครอบครัวส่วนใหญ่ จะเนื่องมาจากหญิงไทยต้องส่งเงินให้ที่บ้านที่เมืองไทย และฝ่ายชายเยอรมันไม่เข้าใจในวัฒนธรรมข้อนี้ คุณปราณีพยายามเน้นว่า การเรียนภาษาของประเทศที่ตนอยู่เป็นสิ่งสำคัญ ปัญหาบางอย่าง สาเหตุอาจไม่ใช่มาจากตัวเราก็จริง แต่ควรปรับตัวเราก่อน ในฐานะผู้ทำงานจิตอาสา จะมีหน้าที่เพียงให้คำแนะนำที่ถูกต้อง โดยนำเสนอทางเลือกให้ผู้ประสบปัญหาให้ครอบคลุม แต่ไม่ใช่คนตัดสินใจ

คุณปราณี ชวิงฮัมเมอร์ บรรยายเรื่อง “การทำงานล่ามกับงานอาสา”

คุณ ปราณีกล่าวว่า ปัญหาของหญิงไทยในเยอรมนีส่วนใหญ่ คือ ปัญหาครอบครัว อันเนื่องมาจากการผิดไปจากความคาดหวัง ภาษา ระดับการศึกษาที่ต่างกัน การหวังที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้นในเยอรมนี แต่ชีวิตจริงไม่ได้เป็นอย่างที่ฝันไว้ โดยปัญหาครอบครัวส่วนใหญ่ จะเนื่องมาจากหญิงไทยต้องส่งเงินให้ที่บ้านที่เมืองไทย และฝ่ายชายเยอรมันไม่เข้าใจในวัฒนธรรมข้อนี้
คุณปราณีพยายามเน้นว่า การเรียนภาษาของประเทศที่ตนอยู่เป็นสิ่งสำคัญ ปัญหาบางอย่าง สาเหตุอาจไม่ใช่มาจากตัวเราก็จริง แต่ควรปรับตัวเราก่อน และกล่าวย้ำว่าผู้ทำงานจิตอาสา จะมีหน้าที่เพียงให้คำแนะนำที่ถูกต้อง โดยนำเสนอทางเลือกให้ผู้ประสบปัญหาให้ครอบคลุม แต่ไม่ใช่คนตัดสินใจ คนตัดสินใจทางที่จะแก้ปัญหาคือตัวผู้ประสบปัญหาเองเท่านั้น

 

คุณอภิญญา กริมม์ บรรยายเรื่อง "การทำงานช่วยเหลือคนไทยกับหน่วยงานเยอรมัน" คุณอภิญญาทำงานกับหน่วยงานเยอรมันชื่อ Fraueminformationszentrum หรือ FIZ ที่เมือง Stuttgart (http://www.vij-stuttgart.de/unsere-angebote/fraueninformationszentrum.html)

คุณอภิญญา กริมม์ บรรยายเรื่อง “การทำงานช่วยเหลือคนไทยกับหน่วยงานเยอรมัน”

คุณอภิญญาทำงานกับหน่วยงานเยอรมันชื่อ Fraueminformationszentrum หรือ FIZ ที่เมือง Stuttgart

ซึ่ง FIZ เป็นองค์กรเอกชนที่ให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือแก่หญิงที่เป็นเหยื่อในการค้ากาม หญิงที่ย้ายถิ่นตามสามีมาอยู่ประเทศเยอรมนี และหญิงที่อพยพมาประเทศเยอรมนีเพื่อทำงานใช้แรงงาน เช่น งานแม่บ้าน งานทำความสะอาด

โดยจุดเด่นของ FIZ คือ FIZ จะให้คำแนะนำแก่ผู้หญิงเหล่านั้นเป็นภาษาแม่ของผู้หญิงเหล่านั้น FIZ จะทำงานร่วมกับทนาย องค์กรท้องถิ่นของเยอรมนีให้การให้ความช่วยเหลือ โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้หญิงที่ประสบปัญหาเหล่านั้นพ้นจากปัญหา และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้

 

คุณนิตยา อาฮ์เบอ บรรยายเรื่อง "การทำงานอาสาของสมาคมธาราที่นำมาปฎิรูปใช้กับชีวิตจริง" คุณนิตยาเล่าว่า งานอาสาสมัครทำให้ได้ความรู้ และได้พัฒนาบุคคลิกภาพ อีกทั้งยังเป็นการสร้างสังคมไทยให้เข้มแข็งในต่างแดน คุณนิตยามองว่า การเป็นคนไทยในต่างแดนถือว่าเป็นกำไร เนื่องจากได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายจากทั้งสองประเทศ ดังนั้นเมื่่อได้รับแล้ว จึงควรส่งต่อ ควรตอบแทนแผ่นดิน คุณนิตยาเสนอว่า เนื่องจากอุปสรรคในการทำงานอาสาสมัคร คือนิสัยของคนไทย ที่มีอะไรไม่พูดกันตรงๆ จึงควรมีการอบรมเรื่องการจัดการองค์กร สุดท้ายคุณนิตยาได้ฝากข้อคิดว่า "เวลากินข้าว อย่ามองแต่ขอบจานของตัวเอง ให้มองจานของคนอื่นด้วย ว่าเขามีกินไหม"

คุณนิตยา อาฮ์เบอ บรรยายเรื่อง “การทำงานอาสาของสมาคมธารา”

คุณกุลยา ฮุนดอร์ฟ บรรยายเรื่อง "การทำงานอาสาของสามาคมธาราที่นำมาปฏิรูปใช้กับชีวิตจริง"

คุณกุลยา ฮุนดอร์ฟ บรรยายเรื่อง “การทำงานอาสาของสามาคมธาราที่นำมาปฏิรูปใช้กับชีวิตจริง”

 

บรรยากาศสนุกๆ คลายเครียดในการบรรยายเรื่อง "การสอนภาษาไทยให้เด็ก" ของคุณวัชริน ออง

บรรยากาศสนุกๆ คลายเครียดในการบรรยายเรื่อง “การสอนภาษาไทยให้เด็ก” ของคุณวัชริน ออง

 

คุณจิระพรรณ ออคเคอร์ บรรยายเรื่อง "การสอนภาษาไทยให้เด็ก และงานด้านการเงิน"

คุณจิระพรรณ ออคเคอร์ บรรยายเรื่อง “การสอนภาษาไทยให้เด็ก และงานด้านการเงิน”

 

คุณศรีนภา ทัพจันทร์ ลังบายน์ บรรยายเรื่อง "โครงสร้างและนโยบายของสมาคมไทยอาสา"

คุณศรีนภา ทัพจันทร์ ลังบายน์ บรรยายเรื่อง “โครงสร้างและนโยบายของสมาคมไทยอาสา”

คุณศรีนภาเล่าถึงความเป็นมาของสมาคมไทยอาสา ที่ปัจจุบันก่อตั้งมา 10 ปีแล้ว โดยงานอาสาแรกที่สมาคมทำ คือการสอนภาษาเยอรมัน

นอกจากนี้ สมาคมไทยอาสา ยังทำงานด้านสาธาณประโยชน์อื่นๆ เช่น สอนภาษาไทย รำไทย ดนตรีไทย เป็นศูนย์ กศน. และมีการให้ข้อมูลแก่ผู้เดือดร้อน หรือส่งต่อผู้เดือดร้อนไปให้องค์กรอื่นๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป

สุดท้าย คุณศรีนภา ได้ฝากข้อคิดไว้ว่า การมีจิตอาสา ช่วยเหลือผู้อื่นต้องไม่ทำให้เดือดร้อนแก่ตัวเองและครอบครัว และต้องไม่ใช่การช่วยผู้อื่นแบบพ่อแม่รังแกฉัน คือการช่วยควรเป็นการช่วยแบบที่ให้ผู้ประสบความเดือนร้อนสามารถช่วยเหลือตนเอง พึ่งตนเองได้ในระยะยาว

 

คุณณัฐพงษ์ บุตรดี ยูเฟอร์ ประธานสมาคมล่ามและนักแปล บรรยายเรื่อง "ความคืบหน้า และการทำงานของสมาคมล่ามและนักแปล รวมทั้งสำหรับบุคคลประกอบอาชีพล่ามและนักแปลอยู่แล้ว และล่ามและนักแปลรุ่นใหม่"

คุณณัฐพงษ์ บุตรดี ยูเฟอร์ ประธานสมาคมล่ามและนักแปล บรรยายเรื่อง “ความคืบหน้า และการทำงานของสมาคมล่ามและนักแปล รวมทั้งสำหรับบุคคลประกอบอาชีพล่ามและนักแปลอยู่แล้ว และล่ามและนักแปลรุ่นใหม่”

คุณณัฐพงษ์ได้เล่าความคืบหน้าของสมาคมล่ามและนักแปลไทย-เยอรมัน ว่าสมาคมนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมคนรุ่นน้องที่อยากประกอบอาชีพเป็นล่าม โดยในปีนี้ จะมีการจัดคอร์สเพื่อให้ความรู้เรื่องการสอบล่าม คอร์สแนะนำสำหรับคนที่จะเริ่มธุรกิจล่าม การทำบัญชี การหาข้อมูลต่างๆ

นอกจากนี้คุณณัฐพงษ์ยังเล่าด้วยว่า การสอบเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นล่ามสาบานในปีหน้า จะมีการเน้นเรื่องกฎหมายเยอรมันมากขึ้น โดยรัฐบาลได้จัดประชุมเรื่องการออกข้อสอบนี้ ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ ในการประชุมจะมีการเชิญนักกฏหมาย และตัวแทนล่ามสาบานตนเข้ามาร่วมถกในการออกข้อสอบ ซึ่งคุณณัฐพงษ์ ในฐานะตัวแทนสมาคมล่ามและนักแปลไทย-เยอรมัน ก็ได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

 

คุณปูชิตา รักวิทย์ ประธานสมาคมล่ามและนักแปลไทย-ดัตช์ บรรยายเรื่อง "ประสบการณ์การเป็นล่ามในประเทศเนเธอร์แลนด์"

คุณปูชิตา รักวิทย์ ประธานสมาคมล่ามและนักแปลไทย-ดัตช์ บรรยายเรื่อง “ประสบการณ์การเป็นล่ามในประเทศเนเธอร์แลนด์”

 

คุณวิกานดา เผ่าดิษฐ์ บรรยายเรื่อง "อาชีพพยาบาลกับการทำงานอาสาสมัคร"

คุณวิกานดา เผ่าดิษฐ์ บรรยายเรื่อง “อาชีพพยาบาลกับการทำงานอาสาสมัคร”

 

ดร. พัทยา เรือนแก้ว ประธานสมาคม เอ็น ที โอ บรรยายเรื่อง "เหลียวหลัง แลหน้า การทำงานขออาสาสมัครของคนไทยในเยอรมนี"

ดร. พัทยา เรือนแก้ว ประธานสมาคม เอ็น ที โอ บรรยายเรื่อง “เหลียวหลัง แลหน้า การทำงานขออาสาสมัครของคนไทยในเยอรมนี”

เนื่องด้วยห้วข้อ และเนื้อหาในการบรรยายของ ดร. พัทยา มีความน่าสนใจมาก ดังนั้นทางสมาคมล่ามและนักแปลไทย-ดัตช์ จึงขอแยกออกเป็นบทความต่างหาก

 

ผู้เข้าร่วมสัมนาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกร่วมกัน

ผู้เข้าร่วมสัมนาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกร่วมกัน


  • 0
ถวายพระพร

ภาพกิจกรรมถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครองราชย์ครบ ๗๐ ปี

ถ่ายภาพโดย สุกานดา ศรีเสน่ห์พร

เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ ทางสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ได้จัดกิจกรรมถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ ขึ้น ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก

โดยในกิจกรรมวันนั้น ได้มีสมาชิกของสมาคมล่ามฯ อันประกอบด้วย สุกานดา ศรีเสน่ห์พร, ยุพิน ขุนรองชู, ฐาณิตฐ์ ศิวะบุณย์, มัทนา เคสเตอร์-โคตรสาร และ วทันยา สิงหาษา ได้เข้าร่วมในกิจกรรมถวายพระพรในครั้งนี้ด้วย

ในนามของสถมาคมล่ามและนักแปลไทย-ดัตช์ ขอร่วมตั้งจิตจิตอธิษฐานอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลพิภพ โปรดดลบันดาลประทานพรให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญ พระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ทรงสถิตเป็นพระมิ่งขวัญปกเกล้าแก่เหล่าพสกนิกรชาวไทยตราบกาลนาน

ลงนามถวายพระพร15

พิธีการลงนามถวายพระพร เริ่มเมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ โดยมีท่านเอกอัครราชทูต นายอิทธิพร บุญประคอง เป็นประธานในพิธี

พิธีการลงนามถวายพระพร เริ่มเมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ โดยมีท่านเอกอัครราชทูตฯ นายอิทธิพร บุญประคอง เป็นประธานในพิธี

 

ท่านเอกอัครราชทูตฯ ได้นำกล่าวถวายพระพร

ท่านเอกอัครราชทูตฯ ได้นำกล่าวถวายพระพร

 

ท่านเอกอัครราชทูตฯ, ข้าราชการในสถานเอกอัครราชทูต และประชาชนไทยในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้พร้อมใจกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี

ท่านเอกอัครราชทูตฯ, ข้าราชการในสถานเอกอัครราชทูต และประชาชนไทยในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้พร้อมใจกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี

 

มีประชาชนชาวไทยในประเทศเนเธอร์แลนด์มาร่วมพิธีถวายพระพรในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก จนจำนวนเต็มห้องรับรอง

มีประชาชนชาวไทยในประเทศเนเธอร์แลนด์มาร่วมพิธีถวายพระพรในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก จนจำนวนเต็มห้องรับรอง

 

ท่านเอกอัครราชทูตฯ นายอิทธิพร บุญประคอง ลงนามถวายพระพร

ท่านเอกอัครราชทูตฯ นายอิทธิพร บุญประคอง ลงนามถวายพระพร

 

นางสาววทันยา สิงหาษา เจ้าหน้าที่สถานทูต และสมาชิกสมาคมล่ามฯ ร่วมลงนามถวายพระพร

นางสาววทันยา สิงหาษา เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และสมาชิกสมาคมล่ามฯ ร่วมลงนามถวายพระพร

 

นางยุพิน ขุนรองชู สมาชิกสมาคมล่ามฯ ร่วมลงนามถวายพระพร

นางยุพิน ขุนรองชู สมาชิกสมาคมล่ามฯ ร่วมลงนามถวายพระพร

 

นางมัทนา เคสเตอร์-โคตรสาร เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และสมาชิกสมาคมล่าม ร่วมลงนามถวายพระพร

นางมัทนา เคสเตอร์-โคตรสาร เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และสมาชิกสมาคมล่ามฯ ร่วมลงนามถวายพระพร

 

นางสาวฐาณิตฐ์ ศิวะบุณย์ สมาชิกสมาคมล่ามฯ ร่วมลงนามถวายพระพร

นางสาวฐาณิตฐ์ ศิวะบุณย์ สมาชิกสมาคมล่ามฯ ร่วมลงนามถวายพระพร

 

นางสาวสุกานดา ศรีเสน่ห์พร สมาชิกสมาคมล่ามฯ และเป็นช่างภาพในงานพิธีถวายพระพรในครั้งนี้ด้วย

นางสาวสุกานดา ศรีเสน่ห์พร สมาชิกสมาคมล่ามฯ และเป็นช่างภาพในงานพิธีถวายพระพรในครั้งนี้ด้วย

 

ถ่ายรูปร่วมกัน หลังเสร็จงานกิจกรรมถวายพระพร


  • 0
สาธิตทำอาหารไทย

ประมวลภาพกิจกรรมสาธิตการทำอาหารไทยแบบครบเครื่องโดยเชฟกระทะเหล็ก

ภาพโดย สุกานดา ศรีเสน่ห์พร

เรื่องโดย ปูชิตา รักวิทย์

ฐาณิตฐ์ ศิวะบุณย์

ยุพิน ขุนรองชู

เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดกิจกรรม “สาธิตการทำอาหารไทยแบบครบเครื่องโดยเชฟกระทะเหล็ก” ขึ้น ณ สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ กรุงอัมสเตอร์ดัม โดยกิจกรรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รศ. ดร. สุรชัย จิวเจริญสกุล คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งท่านได้ รับตำแหน่งเชฟกระทะเหล็กอาหารไทยจาก Texas Culinary Academy, Austin Texas, USA. (๒๕๔๙) อีกด้วย โดยท่านวิทยากรได้ยกครัวไทยมาตั้งใจกลางเมืองอัมสเตอร์ดัมและสาธิตเทคนิคการ ทำอาหารไทยโดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ในต่างแดน แต่ยังคงความแซ่บแบบไทย

โดยอาหารซึ่งเชฟ รศ. ดร. สุรชัย จิวเจริญสกุล ได้สาธิตวิธีการทำในวันนั้นได้แก่ ลาบหมู ผัดไทย ยำไก่ ยำเนื้อ ส่วนของหวานคือ ทับทิมกรอบ และเครื่องดื่มคือ น้ำกระเจี้ยบ และน้ำมะขาม

ซึ่งสมาชิกของสมาคมล่ามฯ อันได้แก่ สุกานดา ศรีเสน่ห์พร, ปูชิตา รักวิทย์, ฐาณิตฐ์ ศิวะบุณย์ และ ยุพิน ขุนรองชู ได้เข้าร่วมกิจกรรมสาธิตในครั้งนี้ด้วย

สาธิตทำอาหารไทย2

สาธิตทำอาหารไทย1

สาธิตทำอาหารไทย4

สาธิตทำอาหารไทย9

สาธิตทำอาหารไทย10

สาธิตทำอาหารไทย11

สาธิตทำอาหารไทย12


  • 0
สัมนารวมพลังคนไทยในยุโรป

งานสัมนารวมพลังคนไทยในยุโรป วันที่ ๑-๓ เมษายน ๒๕๕๙

ภาพและข่าวโดย สุกานดา ศรีเสน่ห์พร

ฐาณิตฐ์ ศิวะบุณย์

 

เมื่อวันที่ ๑ – ๓ เมษายน ๒๕๕๙ ตัวแทนของสมาคมล่ามและนักแปลไทย-ดัตช์ (Vereniging Tolken en Vertalers Thai-Nederlands) นำโดย นางวิกานดา เผ่าดิษฐ์ ที่ปรึกษาของสมาคมล่ามฯ  นางสาวสุกานดา ศรีเสน่ห์พร และ นางสาวฐานิตฐ์ ศิวะบุณย์ ได้เข้าร่วมงานสัมนาที่จัดโดย ชมรมสื่อสัมพันธ์คนไทยในยุโรป Thai Integration Europe (TIE) ในหัวข้อ”ระเบียบ ข้อกำหนด คำสั่ง และประกาศที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สำหรับกลุ่มคนไทยในต่างประเทศ” จัดขึ้น ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี

โดยในงานสัมนาครั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่จาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์มาให้คำบรรยาย และได้รับเกียรติจากท่านเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน นางนงนุช เพร็ชรัตน์ มาเป็นประธานในการเปิดงานด้วย

และในการนี้ ทางสมาคมล่ามฯ ได้ขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ในการขอคำรับรองสมาคมล่ามฯ ให้เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ กรณีองค์กรภาคเอกชนในต่างประเทศ ตาม พรบ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ซึ่งทางตัวแทนสมาคมล่ามฯ ได้รับคำแนะนำและเอกสารแบบฟอร์มมาแล้ว และได้ส่งต่อให้ประธานสมาคมล่ามฯ นางปูชิตา รักวิทย์ ดำเนินการต่อไป

ประมวลภาพ งานสัมนารวมพลังคนไทยในยุโรป วันที่ ๑-๓ เมษายน ๒๕๕๙ สถานทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี

 

12940983_10154026458424174_1537005608_o

ก่อนเปิดการสัมนาได้มีการถ่ายภาพกลุ่มกับคณะทำงาน และตัวแทน สมาคมต่างๆ จากหลากหลายประเทศร่วมกับเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 

รับฟังการสัมนาในหัวข้อการช่วยเหลือ การสังเกตู การควบคุมป้องกันเด็กๆที่มีปัญหาเรื่องยาเสพติด โดยนาย มังกร วงหนองเตย

รับฟังการสัมนาในหัวข้อการช่วยเหลือ การสังเกต การควบคุมป้องกันเด็กๆที่มีปัญหาเรื่องยาเสพติด โดยนายมังกร วงหนองเตย

 

ตัวแทนสมาคมล่ามฯ และนางปาริฉัตร จันทร์พูน ได้ถ่ายภาพร่วมกับผู้แทนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายชินชัย ชี้เจริญ ที่ปรึกษาวิชาการพัฒนาสังคม และ นายสุเมธ ทรายแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสัวสดิการสังคมแห่งชาติ

ตัวแทนสมาคมล่ามฯ และนางปาริฉัตร จันทร์พูน ได้ถ่าย ภาพร่วมกับผู้แทนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายชินชัย ชี้เจริญ ที่ปรึกษาวิชาการพัฒนาสังคม และ นายสุเมธ ทรายแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ

 

คณะเจ้าหน้าที่จากคณะทำงานส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

คณะเจ้าหน้าที่จากคณะทำงานส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

 

ท่านเอกอัครราชทูต นางนงนุช เพ็ชรรัตน์ ในกรุงเบอร์ลินกล่าวพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ

ท่านเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี นางนงนุช เพ็ชรรัตน์ กล่าวในพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ

 

นางวิกานดา เผ่าดิษฐ์ หัวหน้าศูนย์ กศน. กรุงเฮก หัวหน้ากลุ่มสตรีไทยในเนเธอร์แลนด์ และที่ปรึกษาสมาคมล่ามและนักแปลไทย-ดัตช์ บรรยายการสัมนาเรื่องบทบาทและความสำคัญในการสอนภาษาไทยในเนเธอร์แลนด์

นางวิกานดา เผ่าดิษฐ์ หัวหน้าศูนย์ กศน. กรุงเฮก หัวหน้ากลุ่มสตรีไทยในเนเธอร์แลนด์ และที่ปรึกษาสมาคมล่ามและนักแปลไทย – ดัตช์ ให้คำบรรยายเรื่องบทบาทและความสำคัญในการสอนภาษาไทยในเนเธอร์แลนด์

 

ถ่ายภาพร่วมกับท่านเอกอัครราชทูตและคณะทำงานจาก พม. นางดรรชนี วรดิถี ฟิทซ์เนอร์

ถ่ายภาพร่วมกับท่านเอกอัครราชทูต คณะทำงานจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนางดรรชนี วรดิถี ฟิทซ์เนอร์ ประธานชมรมสื่อสัมพันธ์คนไทยในยุโรป (TIE)

 

ผู้แทนกระทรวง พม. ได้มอบของที่ระลึกให้แก่ตัวแทนสมาคมล่ามฯ จากเนเธอร์แลนด์

ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มอบของที่ระลึกให้แก่ตัวแทนสมาคมล่ามฯ จากเนเธอร์แลนด์

 

12962414_10154026458464174_270822277_o

ถ่ายภาพเพื่อเป็นที่ระลึกกับคณะทำงานจาก พม. และนางกุลยา ฮูนดอร์ฟ คณะทำงานชมรมสื่อสัมพันธ์คนไทยในยุโรป และ นางสุพัตรา ผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านพยาบาลในห้องผ่าตัด และไกด์อาสาสมัคร ก่อนปิดพิธีการสัมนาและเยี่ยมเยือนสถานที่สำคัญต่างๆในกรุงเบอร์ลิน

ตัวแทนสมาคมล่ามฯ ถ่ายภาพเพื่อเป็นที่ระลึกกับคณะทำงานจาก พม. และนางกุลยา ฮูนดอร์ฟ คณะทำงานชมรมสื่อสัมพันธ์คนไทยในยุโรป และ นางสุพัตรา ผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านพยาบาลในห้องผ่าตัด และไกด์อาสาสมัคร ก่อนปิดพิธีการสัมนาและเยี่ยมเยือนสถานที่สำคัญต่างๆในกรุงเบอร์ลิน

 


  • 0
สมาชิกสมาคมล่ามและนักแปลไทย-ดัตช์

ประชุมสมาคมล่ามและนักแปลไทย-ดัตช์ ครั้งที่ 1/2559

ถ่ายภาพโดย สุกานดา ศรีเสน่ห์พร

ประชุม สมาคมล่ามและนักแปลไทย – ดัตช์

ครั้งที่ 1/ 2559

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2559

ร้าน Take Care Thaise Wellness เมือง Utrecht

 

1_2559(5)

 

 

 

 

 

1_2559(12)

 

 

 

 

 

1_2559(10)

 

 

 

 

 

 

1_2559(9)

 

 

 

 

 

1_2559(8)

 

 

 

 

 

1_2559(7)

 

 

 

 

 

 

 

1_2559(6)

 

 

 

 

 

1_2559(4)

 

 

 

 

 

1_2559(3)

 

 

 

 

 

1_2559(2)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


  • 0

คำศัพท์ที่คนไทยในเนเธอร์แลนด์ควรทราบ

รวบรวมโดย ปูชิตา รักวิทย์ และ สุมัญญา เดชกำแหง

และบางส่วนจาก อบรมงานแปลและงานล่าม วิทยากร โดย ฉันทนา ดวงโต เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552 ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงเฮก

Koninkrijk der Nederlanden  = ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
beëdigd vertaler = นักแปลสาบานตน
beëdigd tolk = ล่ามสาบานตน
legalisatie = การรับรองเอกสารว่าเป็นเอกสารจริง
afschrift = สำเนาเหมือนตัวจริงทุกประการ
uittreksel  = สำเนาแบบย่อ
gewaarmerkte kopie  = สำเนาผ่านการรับรองโดยสถาบันเจ้าของเอกสาร เช่น ปริญญาบัตร, สำเนาที่เจ้าพนักงานรับรองว่าถูกต้อง
akte van inschrijving = เอกสารบุคคล เช่น สูติบัตร มรณบัตร ฯลฯ
overeenkomst = หนังสือสัญญา
dading = สัญญาประนีประนอม
notariële akte = เอกสารโนตารีส, เอกสารที่ทำขึ้นโดยนักกฎหมายนิติกรรม
huwelijksvoorwaarden  = สัญญา/ข้อตกลงก่อนสมรส
staat van aanbrengsten = รายการสินเดิม, ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายหรือหญิงมีอยู่แล้วก่อน สมรส
gemeenschap van goederen = สินสมรสร่วมกัน
uitsluiting gemeenschap van goederen = การไม่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในทรัพย์สิน
huwelijksvermogensregime = ระบบสินสมรส
familierecht = กฎหมายครอบครัว
alimentatie = ค่าเลี้ยงดูหลังหย่า
volmacht = มอบอำนาจ, มอบฉันทะ
testament = พินัยกรรม
hypotheekakte = สัญญาจำนอง
vestigingsakte: pachtrecht, erfdienstbaarheid, woonrecht, vruchtgebruik = สัญญาทรงสิทธิ
erfdienstbaarheid = สิทธิในการใช้ทรัพย์สินของผู้อื่น
vruchtgebruik = สิทธิเก็บกิน
niet rechtsgeldig = ไม่มีผลด้านกฎหมาย
nietig = โมฆะ
rechtshandeling = นิติกรรม
rechtsgevolg is beoogd = นิติกรรม คือการกระทำที่หวังผลได้ทางกฎหมาย เช่น ซื้อขาย แต่งงาน ทำพินัยกรรม ฯลฯ
bloot rechtsfeit = เหตุบางอย่างไม่ถือว่าเป็นนิติกรรม แต่มีผลตามกฎหมาย เช่น การเกิด ตาย อายุบรรลุนิติภาวะ อายุเกษียณ
blootfeit = เหตุบางอย่างจงใจหรือไม่จงใจทำ แต่มีผลทางกฎหมาย เช่น เป็นต้นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย schenking = หนังสือมอบของกำนัล
afstand van recht = หนังสือสละสิทธิ
verklaring van erfrecht = หนังสือรับรองสิทธิกฎหมายมรดก
recht van pand = จำนำ
recht van hypotheek = จำนอง
hypotheekgever = ผู้ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
hypotheeknemer = ผู้ยอมรับการค้ำประกัน
hypotheekakte = สัญญาจำนอง
vestiging van hypotheekrecht = จำนองโดยใช้ทรัพย์สินลงทะเบียนค้ำประกันต้องทำโดยโน- ตาริส
roerende zaak = สังหาริมทรัพย์ เช่น ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้
onroerende zaak = อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน อาคาร ที่ดิน
een recht aan toonder of order = ตั๋วเงิน
registergoed = ทรัพย์สินลงทะเบียน
pandrecht = สิทธินำทรัพย์สินจำหน่ายเมื่อลูกหนี้ไม่ทำตามสัญญา, สิทธิ ยึดหน่วง
gemeente = เทศบาล
burgemeester = นายกเทศมนตรี
wethouder = สมาชิกสภาเทศบาล
paspoort = หนังสือเดินทาง
geboortedatum = วัน เดือน ปีเกิด
geboorteplaats = สถานที่เกิด
geldig tot = มีอายุถึง
echtgenoot/echtgenote = สามี/ภรรยา
naam = ชื่อสกุล
voornaam = ชื่อตัว
weduwe = หญิงเป็นหม้ายเพราะสามีเสียชีวิต
weduwnaar = ชายเป็นหม้ายเพราะภรรยาเสียชีวิต
geslacht = เพศ
naam overledene = ชื่อผู้เสียชีวิต
Ministerie van Binnenlandse Zaken = กระทรวงมหาดไทย
Ministerie van Buitenlandse Zaken = กระทรวงการต่างประเทศ
Ministerie van Justitie = กระทรวงยุติธรรม
IND – Immigratie- en Naturalisatiedienst = สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
Raad van kinderbescherming = หน่วยงานคุ้มครองผู้เยาว์
Burgerzaken = สำนักงานทะเบียนราษฎร์
Belastingdienst = กรมสรรพากร
eindonderzoek = การสืบสวนขั้นปลาย
verdachte = ผู้ต้องสงสัย
op verdenking van = ต้องสงสัยว่าได้กระทำผิด
verhoren = สอบปากคำ สืบปากพยาน
verhoren, ondervragen = การสอบปากคำผู้ต้องหา
strafrechtelijk onderzoek = การสืบสวนสอบสวนทางอาญา
vooronderzoek = การสืบสวนสอบสวนขั้นต้น
verdenking = ข้อต้องสงสัย
strafrechtelijke vervolging = การฟ้องอาญา, การดำเนินคดีอาญา
tenlastelegging = คำฟ้องร้อง คำกล่าวหา
raadsman/vrouw = ทนายความของผู้ต้องหา/จำเลย
opsporingsambtenaar = เจ้าพนักงานสืบสวนสอบสวน
officier van justitie = อัยการศาลชั้นต้น, พนักงานอัยการ
advocaat-generaal = อัยการศาลอุทธรณ์
rechter = ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
raadsheer = ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
rechter-commissaris = ผุ้พิพากษาสอบสวน
rechtbank = ศาลชั้นต้น
gerechtshof = ศาลอุทธรณ์
Hoge Raad = ศาลฎีกา
nietig verklaard = เป็นโมฆะ
bloedverwantschap = การร่วมสายโลหิตเดียวกัน, ความมีสายเลือดเดียวกัน, การมี บรรพบุรุษเดียวกัน
ascendenten = บรรพบุรุษ
descendenten = ผู้สืบสกุล
vererving = การรับมรดก, การสืบทอดมรดก
plaatsvervulling = การวางตัวแทนหรือทายาทสืบทอดมรดก (ในกรณีที่ทายาท ผู้รับมรดกโดยตรงเสียชีวิต)
begrafenis = พิธีฝังศพ
crematie = การเผาศพ, การฌาปนกิจ
uitvaart = พิธีศพ
uitvaartmaatschappij = บริษัทรับจัดงานศพ
urn = โกศ
as = อัฐิ
verrekenbeding = การคำนวณชดเชยค่าต่างให้เท่ากัน (ตย. เมื่อหย่ากัน เมื่อ แบ่งทรัพย์สินกันได้ฝ่ายละ 25.000,- ยูโร ฝ่ายหนึ่งเอาบ้านไว้ เป็นฝ่ายอยู่ในบ้าน บ้านมีมูลค่า 35.000,- ยูโร ฝ่ายที่อยู่ในบ้าน ต้องจ่ายเงินชดเชยให้อีกฝ่าย 10.000,- ยูโร)
naar evenredigheid = 50:50, สัดส่วนที่เท่ากัน, ตามสัดส่วน
ongeboren vrucht = ทารกยังไม่กำเนิด, ตัวอ่อนของคน, ทารกในครรภ์
tenietgegaan = เสียหาย, หายไป
verteringsbevoegdheid = อนุญาตให้ใช้
vertering = การใช้ (จนหมด)
vervreemding = การขาย, การโอน(ทรัพย์)
wordt geacht te zijn geschied = สันนิษฐานว่าเกิดขึ้น
beheer = การดูแล, การจัดการ, ความคุ้มครอง, การพิทักษ์
zekerheidstelling = การให้การประกัน, การให้หลักประกัน
vruchten = ดอกผล เช่น ดอกเบี้ยจากธนาคาร, เงินปันผลจากหุ้น
vruchtgenot = สิทธิ์ที่จะใช้สิ่งของหรือได้รับผลประโยชน์จากสิ่งนั้นเสมือน เป็นเจ้าของสิ่งนั้นเอง (เช่น สิทธิ์ของพ่อแม่ในกรณีที่บุตรที่ยัง ไม่บรรลุนิติภาวะมีรายได้จากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง)
bloot eigendom = มีทรัพย์สินแต่ไม่ได้รับผลประโยชน์ แต่ก็ไม่มีค่าใช่จ่ายสำหรับ ทรัพย์สินนั้นเช่นกัน เช่น มีบ้านที่ให้มารดาอาศัยจนสิ้นชีวิต
boedel = ทรัพย์สินที่เป็นมรดกทุกอย่าง ทั้งของนิติบุคคลและบุคคล ธรรมดา
boedelkosten = ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน เช่น ค่าใช้จ่ายพิธีฝังศพหรือ ฌาปนกิจ ค่าใช้จ่ายสำหรับนักกฎหมายนิติกรรม นักบัญชี ผู้ให้คำ ปรึกษาด้านภาษี และ/หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่นๆ
boedelnotaris = นักกฎหมายนิติกรรมให้คำปรึษาเรื่องทรัพย์สิน
boedelbeschrijving = การทำบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน, การทำบัญชีคงคลัง, การตรวจ ยอด
voorlopige staat van schulden = หนี้ก่อนที่จะสรุปสุดท้าย
schuldeiser = เจ้าหนี้
schuldenaar = ลูกหนี้
schuldsaneringsregeling = หลักเกณฑ์/ข้อกำหนดการประนอมหนี้, หลักเกณฑ์/ข้อ กำหนดการปรับโครงสร้างหนี้
surseance = การอนุญาตให้เลื่อนการชำระหนี้, การผ่อนเวลาชำระหนี้
faillietverklaring = การประกาศว่าล้มละลาย
curatele stelling = การสั่ง(โดยศาล)ให้ผู้ที่บรรลุนิติภาวะอยู่ในอนุบาลในกรณีที่ บุคคลนั้นไม่สามารถดูแลทรัพย์สินของตัวเองได้ เช่น มีความผิด ปกติทางจิต ติดยาเสพติดอย่างรุนแรง มีพฤติกรรมสร้างความไม่สงบในที่สาธารณะและเป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่นอยู่เนืองนิจ ผู้ที่อยู่ในการอนุบาลจะถูกสั่งให้เป็นผู้ที่ไม่มีความสามารถทาง กฎหมาย ดังนั้นจึงไม่สามารถตัดสินใจทำนิติกรรมใดๆ ได้ด้วยตัว เองโดยปราศจากการอนุญาตจากผู้อนุบาล
bewindstelling = การสั่ง(โดยศาล)ให้บุคคลอยู่ในความพิทักษ์ ในกรณีที่บุคคลนั้น ไม่สามารถหรือไม่อยู่ในสถานะที่จะดูแลการเงินและรักษาผล ประโยชน์ของตัวเองได้ ในกรณีนี้ บุคคลที่อยู่ในความพิทักษ์ยังมี ความสามารถทางกฎหมาย สามารถทำนิติกรรมทางกฎหมายได้ ส่วนจะเป็นเรื่องใดนั้น ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้พิทักษ์และผู้ที่ อยู่ภายใต้การพิทักษ์ สำหรับเรื่องที่ผู้พิทักษ์ดูแล ผู้ที่อยู่ภายใต้การ พิทักษ์ต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิทักษ์ก่อนถึงจะทำนิติกรรมได้
opbrengsten = รายได้จากการขายสินค้าหรือทรัพย์สิน
vorderingen = การเรียกเก็บเงิน
beschikking = คำสั่งของศาล, คำพิพากษา, การจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์, การให้ สิทธิ์ใช้สอยทรัพย์
inlichtingen = (การให้)ข้อมูลข่าวสาร, การชี้แจง, การทำให้กระจ่าง
belastingheffing = การจัดเก็บภาษี
onkosten = ค่าใช้จ่ายทั่วไป
vaste lasten = ค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า
executeur = ผู้จัดการมรดก
bevoegd = มีคุณสมบัติ, มีอำนาจ(ตามหน้าที่)
legaat = มรดก, การยกทรัพย์ส่วนตัวให้โดยพินัยกรรม
legataris = ทายาท, ผู้รับประโยชน์
taxatie = การประเมินราคา, การตีราคา
successierechten = erfbelasting ภาษีมรดก
ten laste komen van = ต้องจ่าย, ต้องชำระ, แบกรับ(ภาระ)
nakoming van een overeenkomst = ตอบสนองข้อตกลง
verzekeringsplicht = หน้าที่ที่ต้องทำประกัน
herstelling = การฟื้นฟู, การกลับสู่ภาวะปกติ
rustende hypothecaire schuld = หนี้จำนอง
opschortende voorwaarde = เงื่อนไขบังคับก่อน, เงื่อนไขที่ต้องทำก่อนที่จะมีข้อตกลงใดข้อ ตกลงหนึ่งตามมา
ontbindende voorwaarde = เงื่อนไขที่เป็นเหตุให้ข้อตกลงหรือสัญญาที่ได้ทำไว้ตกเป็นโมฆะ
erfrecht = กฎหมายลักษณะมรดก
erfopvolging bij versterf = การตกทอดโดยการตาย ผู้ตายไม่มีพินัยกรรม เรียก ทายาทว่า ทายาทโดยธรรม
erfopvolging krachtens uiterste wilsbeschikking = การตกทอดโดยพินัยกรรม

codicil = พินัยกรรมส่วนตัว เขียนเป็นจดหมายด้วยลายมือพร้อมลงนาม เช่น กำหนดยกเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ในบ้านให้ใคร erfgenaam = ทายาท, ผู้รับประโยชน์
heden ten dage = วันนี้, ทุกวันนี้, สมัยนี้, ยุคนี้, ปัจจุบันนี้
overeenkomstig = ที่เกี่ยวข้องกัน, ที่เกี่ยวพันกัน
rechthebbende = ผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์
tweetrapsmaking = ผู้ทำพินัยกรรม/เจ้ามรดกได้ระบุไว้ในพินัยกรรมว่าหากตนเสีย ชีวิตใครจะเป็นทายาทที่จะได้รับมรดก (bezwaarde) และยัง ระบุอีกว่าถ้าทายาทผู้นั้นเสียชีวิต ใครจะเป็นทายาทที่จะรับมรดก นั้นเป็นคนต่อไป (verwachter)
bezwaarde = ทายาทที่ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกและมีข้อผูกพันว่าจะต้องยก มรดกนั้นให้แก่ใครเมื่อตนเสียชีวิตตามการระบุของเจ้ามรดกนั้น ในพินัยกรรม
verwachter = ทายาทที่รับมรดกต่อจาก bezwaarde
meerderjarige persoon = บุคคลที่บรรลุนิติภาวะ


  • 0

ชื่อโรคและอาการต่างๆ ในภาษาไทย-อังกฤษ-ดัตช์

 

ชื่อโรค

ภาษาไทย

 

ชื่อโรค

ภาษาอังกฤษ

ชื่อโรค

ภาษาดัตช์

โรคหัดเยอรมัน German measles / rubella rodehond
โรคมะเร็ง cancer kanker
โรคอีสุกอีใส chicken pox waterpokken
โรคไข้เลือดออก dengue fever knokkelkoorts
โรคหัวใจ heart disease hartziekte
โรคไอกรน whooping cough / pertussis kinkhoest
โรคคอตีบ diphtheria difterie
โรคบาดทะยัก tetanus kaakklem / wondkramp
โรคหอบหืด asthmatic astmatisch
โรคไซนัสอักเสบ sinusitis sinusitis
โรคกล่องเสียงอักเสบ laryngitis keelontsteking
โรคตากุ้งยิง stye strontje
โรคภูมิแพ้ allergy allergie
ไหล่เกร็ง shoulder stiffness een stijve schouder
โรคซึมเศร้า depression depressie
โรคน้ำกัดเท้า /ฮ่องกงฟุต/กลากที่เท้า athlete’s foot voetschimmel
ฟันคุด impacted tooth beïnvloed tand
คางทูม mumps de bof
โรคหวัด,หนาว cold verkoudheid
อาการท้องผูก constipation constipatie
อาการอาหารไม่ย่อย dyspepsia indigestie
อาการที่ร่างกายขาดน้ำ dehydration uitdroging
อาการเคล็ด หรือแพลง sprain verstuiking
อาการจุกเสียดแน่นท้อง heartburn maagzuur
อาการปวดฟัน toothache kiespijn
อาการปวดท้อง stomachache buikpijn
อาการเพลียตา eyestrain vermoeide ogen
อาการนอนไม่หลับ insomnia slapeloosheid
อาการเจ็บตึงกล้ามเนื้อ crick kramp
อาการเจ็บคอ sore throat keelpijn
อาการคัดจมูก stuffy nose verstopte neus
อาการเลือดกำเดาไหล nose bleed bloedneus
การชักกระตุก convulsion stuiptrekking
กระดูกร้าว/หัก fracture breuk
กระดูกหัก broken bone Botbreuk
แผลที่เกิดจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก burn brandwond
แผลพุพอง blister blaar
เยื่อบุตาอักเสบ/ตาแดง conjunctivitis Bindvliesontsteking
คลื่นไส้ nauseous misselijk
อาเจียน vomit Braken / overgeven
มีเลือดไหล bleeding bloeden
ที่ผิดรูปผิดร่าง misshapen misvormd
แผลฟกช้ำ bruise blauwe plek
ไอ cough hoest
อักเสบ inflamed Ontstoken / ontvlammen
น้ำมูกไหล runny nose loopneus
เสมหะ phlegm slijm
บวม swollen gezwollen
เป็นหนอง purulent etterig
หนอง pus etter
เรื้อรัง chronic chronisch
สะอึก hiccup hik
เหงื่อออก perspire transpireren
จาม sneeze niezen